การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปวีณวัช ธูปหอม นักศึกษาปริญญาโท สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2020.9

คำสำคัญ:

การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ, สิทธิมนุษยชน

บทคัดย่อ

รัฐมีพันธกรณีที่ต้องเคารพ คุ้มครอง และทำให้บรรลุผลซึ่งสิทธิมนุษยชนของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคล แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือยังคงมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ประกอบการในภาคธุรกิจต่าง ๆ ทำให้มีความคิดที่จะใช้ประโยชน์จากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในการส่งเสริมคุณค่าบางอย่างที่รัฐเห็นว่ามีความสำคัญรวมถึงสิทธิมนุษยชน ผ่านการบัญญัติกฎเกณฑ์หรือผ่านข้อกำหนดในสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญากับรัฐต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับคุณค่าที่ภาครัฐต้องการส่งเสริม เนื่องจากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงจึงมีความดึงดูดผู้ประกอบการจำนวนมาก มีโอกาสสูงที่จะทำให้การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจประสบความสำเร็จ แต่ประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน บทความนี้จึงมุ่งศึกษาถึงความสำคัญของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั้งในเชิงความสำคัญเนื่องจากรัฐมีพันธกรณีตามกฎหมาย และความสำคัญในด้านการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงศึกษาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการบัญญัติกฎหมาย โดยศึกษาจากหลักการ กฎหมาย และความตกลงการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้พันธกรณีของภาครัฐในการเคารพ คุ้มครอง และทำให้บรรลุผลซึ่งหลักสิทธิมนุษยชน ต่อทั้งกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศสำเร็จได้ ส่วนในเชิงการค้าระหว่างประเทศพบว่า ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เช่น สหรัฐอเมริกาได้นำประเด็นสิทธิมนุษยชนมาเป็นเครื่องมือในการกดดันประเทศคู่ค้าของตนมากขึ้น หากประเทศไทยมีกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่ใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจะช่วยลดแรงกดดันที่เกิดขึ้นในการค้าระหว่างประเทศได้ บทความนี้จึงเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เพื่อให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยกฎหมายควรมีขอบเขตของการคุ้มครองสิทธิที่เหมาะสม ครอบคลุมผู้ประกอบการที่ได้รับประโยชน์จากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทุกรายไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคู่สัญญาหรือไม่ และกฎหมายควรคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในการค้าระหว่างประเทศหากในอนาคตประเทศไทยประสงค์จะทำความตกลงการค้าเพื่อเปิดตลาดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.07.2020

How to Cite

ธูปหอม ปวีณวัช. 2020. “การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของประเทศไทย”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 3 (2):57-88. https://doi.org/10.14456/mfulj.2020.9.