การกำหนดตัวผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า

ผู้แต่ง

  • จุฬาลักษณ์ ดวงพุทธา นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2022.6

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด, ปัจจัยสภาพการแข่งขัน

บทคัดย่อ

การมีอำนาจเหนือตลาด คือ ความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการของตนให้สูงหรือน้อยกว่าระดับราคาของการแข่งขันทางการค้า ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้าไม่ได้มีความผิด โดยปกติของการประกอบธุรกิจแล้วผู้ประกอบธุรกิจทุกรายล้วนต้องการกำไรหรือส่วนแบ่งตลาดในระดับสูง ทั้งนี้ ผู้มีอำนาจเหนือตลาดจะมีความผิดก็ต่อเมื่อกระทำการอันมิชอบต่อการแข่งขันตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดเป็นตัวละครที่สำคัญมากของการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า เนื่องจากกฎหมายพิจารณาเห็นว่า ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดสามารถสร้างหรือทำลายการแข่งขันได้อย่างมีนัยสำคัญ ด้วยเหตุนี้ ระบบกฎหมายการแข่งขันทางการค้าในประเทศต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญและกำหนดเกณฑ์การกำกับดูแลที่เข้มงวดต่อพฤติกรรมทางการค้าของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจบางรายที่มีอำนาจเหนือตลาดมักจะมีพฤติกรรมที่เป็นการต่อต้านการแข่งขันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองในการแสวงหากำไร จึงทำให้ไม่สามารถเกิดการแข่งขันกันได้เพราะผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยไม่มีความสามารถมากพอที่จะแข่งขันกับผู้มีอำนาจเหนือตลาดได้ ดังนั้น จึงต้องมีการพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ของการที่จะกำหนดตัวผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด เพื่อเป็นแนวทางการพิจารณาการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายของผู้ที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดต่อไป และผู้มีอำนาจเหนือตลาดย่อมถูกควบคุมพฤติกรรมการประกอบธุรกิจที่มีความเข้มงวดมากกว่าผู้ประกอบธุรกิจทั่วไป เนื่องจากการกระทำเช่นเดียวกันของผู้ประกอบธุรกิจที่มีอำนาจเหนือตลาดกับผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่มีอำนาจเหนือตลาดอาจเกิดผลกระทบต่อตลาดที่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าหลักเกณฑ์การพิจารณาการเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยในปัจจุบันยังขาดความชัดเจน มีข้อบกพร่อง และมีข้อจำกัด บทความนี้จึงได้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัญหาที่มีผลกระทบต่อการกำหนดตัวผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด ตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการกำหนดตัวผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดของกฎหมายต่างประเทศ อาทิ สหภาพยุโรป สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ซึ่งพบว่าได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามบริบทของแต่ละประเทศ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักเกณฑ์ทางกฎหมายของประเทศไทย และเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมลชัย เวทีบูรณะ, ขอบเขตการใช้บังคับพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558).

กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์, บทวิเคราะห์พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 : การควบคุมการร่วมกันจำกัดการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 47 ฉบับที่ 4 (ธันวาคม 2561).

กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์, บทวิเคราะห์พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 : ขอบเขตการบังคับใช้และการควบคุมพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 47 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2561).

ชนินทร์ มีโภคี, เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554).

ณัฐนพัชร์ วิสุทธิแพทย์, ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ต่อพฤติกรรมการขายสินค้าแบบรวมขาย, (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561).

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์, Tradeand Competition, (รายงานการบรรยายทางวิชาการ จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549).

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, เศรษฐศาสตร์, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548).

ธรรมรัตน์ วาศาโรจน์, การศึกษาเปรียบเทียบ : มาตรการทางกฎหมายควบคุมการใช้อำนาจมิชอบของผู้มีอำนาจเหนือตลาด ประเทศเยอรมัน ประเทศกลุ่มประชาคมยุโรป และประเทศไทย, (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545).

แพรชนก ศรีวิศาล, ค่าเสียหายกรณีฝ่าฝืนมาตรา 25 และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557).

วิษณุ วงศ์สินศิริกุล, มีอำนาจเหนือตลาด...ใช่ว่าจะผิด, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/649093

ศักดา ธนิตกุล และคณะ, โครงการการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำร่างกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560, (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2562).

ศักดา ธนิตกุล, กฎหมายแข่งขันทางการค้าในประเทศญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ วิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายลำดับรองของไทย, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562).

ศิริศักดิ์ จึงถาวรรณ, หลักเกณฑ์เรื่องผู้มีอำนาจเหนือตลาดตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 : ศึกษากรณีสินค้าเหล็ก, (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549).

ศุภสิริ คงเจริญ, แนวทางการพิจารณามาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 : ศึกษากรณีผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคคลในเครือเดียวกัน, (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557).

สรวิชญ์ รักชาติ, วิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการตั้งราคาเพื่อกำจัดคู่แข่งขัน, (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554).

สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า, ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2560, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://otcc.or.th/

สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า, ความเป็นมากฎหมายการแข่งขันทางการค้าของไทย, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://otcc.or.th/history-of-thailands-trade-competition-law/

สุธีร์ ศุภนิตย์ (แก้ไขเพิ่มเติมโดย กมลวรรณ จิรวิศิษฎ์), หลักการและกฎเกณฑ์แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555).

Bundesministerium für Wirtschaft und Energie, Entwurf eines Neunten Gesetzes zur Änderung des Gesetzes gegen Wettbewerbsbeschränkungen, (9 GWB-ÄndG).

Dennis W. Carlton and Jeffrey M. Perloff, Modern Industrial Organization, 4th ed. (New York: Pearson Addison Wesley, 2005), p. 642. see also Robert S. Pindyick and Daniel L. Rubinfeld, Microeconomic, (New York: Mcmilan Publishing, 1989).

E. Thomas Sullivan, Herbert Hovenkamp and Howard A. Shelanski, Antitrust law, policy and procedure: cases, materials, problems, 6th ed. (New Jersey: LexisNexis, 2009).

Gunnar Niels, Helen Jenkins and James Kavanagh, Economics for Competition Lawyers, (Oxford: Oxford University Press, 2011).

Joseph Seon, Hur, The evolution of competition policy and its impact on economic development in Korea, United Nations Conference on Trade and Development: Competition, Competitiveness and Development: Lessons From Developing Countries.

Korea Fair Trade Commission, Guidelines for the Abuse of Market Dominant Position, Section II, [Online], Available source: http://www.ftc.go.kr/eng/contents.do?key=501

Mitsuo Matsushita and John D. Davis, Introduction to Japanese Antimonopoly Law, (Tokyo: Yuhikaku, 1990).

Richard Whish, Competition Law, 5th ed. (London: Lexis Nexis-Butterworth, 2005).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.07.2022

How to Cite

ดวงพุทธา จุฬาลักษณ์. 2022. “การกำหนดตัวผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 5 (2):15-48. https://doi.org/10.14456/mfulj.2022.6.