โฟโต้การ์ด และประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางทารค้า

ผู้แต่ง

  • สุวลักษณ์ ขันธ์ปรึกษา สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

เคป๊อบ, โฟโต้การ์ด, พฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม, กฎหมายการแข่งขันทางการค้า

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแง่มุมทางกฎหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า โดยประเด็นปัญหาทางกฎหมายเกิดจากการแถมโฟโต้การ์ดมากับการขายอัลบั้มเพลงของศิลปินเคป๊อป ผู้เขียนได้นำเสนอข้อเท็จจริงจากการแถมโฟโต้การ์ดที่เหล่าบรรดาแฟนคลับได้มีการทุ่มเงินจำนวนมากซื้อโฟโต้การ์ดที่สุ่มแถมมาฟรีกับอัลบั้มเพลงเพื่อเจาะจงให้ได้โฟโต้การ์ดที่ตนอยากได้ หรือการทุ่มซื้ออัลบั้มจำนวนมากเพื่อเก็บเฉพาะโฟโต้การ์ดแล้วทิ้งอัลบั้มเพลง พฤติกรรมดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารย์ว่ากลยุทธ์ส่งเสริมการขายอัลบั้มของบริษัทเพลงในกรณีนี้อาจมีลักษณะเป็นการแสวงหาประโยชน์จากแฟนคลับโดยไม่สมควรและอาจเป็นการบังคับซื้ออัลบั้มเพื่อให้ได้มาซึ่งโฟโต้การ์ด โดยอาจเข้าข่ายเป็นพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมซึ่งเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้อธิบายหลักการทางกฎหมายว่าด้วยพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมโดยอ้างอิงกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย

Downloads

Download data is not yet available.

References

กฤตพล สุธีภัทรกุล, “โฟโต้การ์ด” ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ “K-POP” ใช้กระตุ้นยอดขาย [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1005189

ขวัญชนก หาสุข, ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ และความจงรักภักดีในการสะสมโฟโต้การ์ดจากสินค้าที่ระลึกไอดอลเกาหลี, (สารนิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2565).

ณัฏฐณิชา เลอฟิลิแบร์ต, กฎหมายการแข่งขันทางการค้า: หลักสากล ประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอาเซียน, กฤษฎีกาสาร, ปีที่ 10 ฉบับที่ 5 (มิถุนายน – กรกฎาคม 2558).

พรชัย วิสุทธิศักดิ์, กฎหมายการแข่งขันทางการค้า, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญญูชน, 2563).

ศักดา ธนิตกุล, คำอธิบายและกรณีศึกษาพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542, พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญญูชน, 2553).

KPOP YOUZAB, แฟน ๆ ทิ้งกล่องอัลบั้มไว้ข้างถนนอีกครั้งหลังเอาโฟโต้การ์ดออกมาแล้ว [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://kpop.youzab.com/145198

K-Selection, SM, HYPE และ YG ถูกสอบสวนเรื่องการผลิตโฟโต้การ์ดไอดอลมากเกินไป [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://altselection.com/th/sm-jyp-et-yg-font-lobjet-dune-enquete-pour-la-surproduction-de-cartes-photo-didols/

Nakd Seoul, K-Pop Idol Photo Card Marketing That Was Investigated [Online], Source: https://nakdseoul.kr/2023/08/21/k-pop-idol-photo-card-marketing-that-was-investigated/

OECD, Regulatory Reform in Japan: The Role of Competition Policy in Regulatory Reform [Online], Source: https://www.oecd.org/japan/2506690.doc

Tam, เมื่อ “โฟโต้การ์ด” ไม่ใช่แค่กระดาษ แต่คือวัฒนธรรมของเหล่าแฟนด้อม (Beyond Paper: Photocard Transforms into a Culture among Action Figure Enthusiasts) [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.exoticquixotic.com/stories/kpop-photo-card.

The Korea Fair Trade Commission, Unfair Trade Practices [Online], Source: https://www.ftc.go.kr/eng/contents.do?key=3076

Toshiaki Takigawa, Competition Law and Policy of Japan, The Antitrust Bulletin, Volume 54 Issue 3 (Fall 2009).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10.07.2024

How to Cite

ขันธ์ปรึกษา สุวลักษณ์. 2024. “โฟโต้การ์ด และประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางทารค้า”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2024 (7):429-43. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3591.