การพิจารณาคดีสัญญาทางปกครองตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนเปรียบเทียบกับประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สมคิด บุญล้นเหลือ ทนายความและนักวิชาการอิสระ

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2022.9

คำสำคัญ:

สัญญาทางปกครอง, การพิจารณาคดีปกครอง, ศาลประชาชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน, ศาลปกครองไทย

บทคัดย่อ

คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองเป็นคดีที่มีสถิติการฟ้องคดีต่อศาลปกครองไทยมากเป็นอันดับสองรองจากคดีปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ล่าสุดศาลประชาชนสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ออกข้อบัญญัติว่าด้วยประเด็นการพิจารณาคดีสัญญาทางปกครอง ค.ศ. 2019 (Provisions of the Supreme People’s Court on the Trial of Certain Issues in Cases of Administrative Agreements (2019)) เพื่อใช้เป็นหลักในการตีความของศาลในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองของจีน โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์ของบทความเพื่อศึกษาเชิงกฎหมายเปรียบเทียบเกี่ยวกับการพิจารณาคดีสัญญาทางปกครองตามกฎหมายของจีนและของไทยภายใต้กฎหมาย กฎระเบียบ และแนวคำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

จากการศึกษาสรุปได้ว่า การพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองของทั้งสองประเทศมีข้อสังเกตเชิงเปรียบเทียบ 6 ประการ กล่าวคือ (1) คู่กรณีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ทั้งสองประเทศมีส่วนที่บัญญัติเหมือนกันคือต้องมีคู่กรณีฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่ของจีนผู้ฟ้องคดีต้องเป็นฝ่ายเอกชนและผู้ถูกฟ้องคดีเป็นฝ่ายรัฐ ในขณะที่ของไทยกำหนดเพียงคู่กรณีฝ่ายหนึ่งต้องเป็นฝ่ายรัฐ (2) ลักษณะของสัญญาทางปกครอง ทั้งสองประเทศมีการกำหนดสัญญาทางปกครองที่มีลักษณะชัดเจนโดยกฎหมายบัญญัติ เช่น สัญญาสัมปทาน สัญญาเกี่ยวกับการให้สิทธิหรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น และเปิดกว้างในการกำหนดสัญญาทางปกครองในลักษณะอื่นโดยสภาพหรือโดยการตีความของศาล (3) การโต้แย้งอำนาจศาลในการพิจารณาคดีสัญญาทางปกครองและระดับชั้นศาล ในประเด็นอำนาจศาลมีความแตกต่างกันเนื่องจากจีนเป็นระบบศาลเดี่ยวโดยศาลประชาชน ในขณะที่ไทยเป็นระบบศาลคู่ที่สัญญาทางปกครองอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศใช้ระบบพิจารณาคดีแบบสองศาลเหมือนกันโดยจีนเริ่มต้นคดีที่ระดับศาลชั้นต้นและถึงที่สุดที่ศาลระดับชั้นที่สองหรือเทียบเท่าชั้นอุทธรณ์ ในขณะที่ของไทยเริ่มต้นที่ศาลปกครองชั้นต้นโดยสามารถอุทธรณ์และคดีถึงที่สุดที่ชั้นศาลปกครองสูงสุด (4) เหตุแห่งการฟ้องคดี กรณีของจีนมีการระบุเหตุแห่งการฟ้องคดีสัญญาทางปกครองไว้ 3 เหตุตามที่บัญญัติไว้ในข้อกฎหมาย ในขณะที่ของไทยระบุเหตุแห่งการฟ้องคดีในกรณีที่เกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (5) ระยะเวลาการฟ้องคดี มีการกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีไว้แตกต่างกันโดยจีนใช้ระยะเวลาการฟ้องคดีเช่นเดียวกับระยะเวลาการฟ้องคดีปกครองทั่วไป ในขณะที่ของไทยมีการกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีสัญญาทางปกครองไว้เป็นการเฉพาะ และ (6) ระบบวิธีพิจารณาคดีสัญญาทางปกครองของศาล โดยศาลประชาชนจีนใช้ระบบกล่าวหาเหมือนคดีทั่วไปในขณะที่ศาลปกครองไทยเป็นระบบไต่สวน ทั้งนี้ ศาลทั้งสองประเทศเป็นการดำเนินคดีโดยองค์คณะเช่นเดียวกัน และศาลประชาชนจีนเปิดโอกาสให้มีผู้พิพากษาสมทบร่วมเป็นองค์คณะตัดสินคดี ในขณะที่ศาลปกครองไทยจะมีตุลาการผู้แถลงคดีเพื่อถ่วงดุลการใช้อำนาจขององค์คณะ

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชูชาติ อัศวโรจน์, คำอธิบายกฎหมายสำคัญที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการปฏิบัติงานและที่ศาลปกครองใช้ในการพิจารณาคดี, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2564).

ฤทัย หงส์สิริ, ศาลปกครองและการดำเนินคดีในศาลปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 11 (กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2564).

ผู้สังเกตการณ์ความยุติธรรมของจีน (CJO), ระบบศาลในประเทศจีนเป็นอย่างไร - คู่มือการวิจัยกฎหมายของจีน [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://th.chinajusticeobserver.com/a/what-is-the-court-system-like-in-china/

ศรัณย์ พิมพ์งาม และปัณณธร เขื่อนแก้ว, กฎหมายจีน : ความรู้เบื้องต้นในภาพรวม [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://businessanalysisoflaw.com/2018/02/06/introduction-chinese-legal-system/

ศาลปกครอง, สถิติเรื่องที่ฟ้องต่อศาลปกครองของปี 2564 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://admincourt.go.th/admincourt/site/03stattotal.html/

ศาลประชาชนสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน, คดีตัวอย่างเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง [ออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.court.gov.cn/zixun-xiangqing-30181.html

สำนักงานศาลปกครอง, สำนักพัฒนาระบบงานคดีปกครอง, คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://law.tsu.ac.th/UserFiles/1570687161_สัญญาทางปกครอง.pdf

สุริยา ปานแป้น และอนุวัฒน์ บุญนันท์, คู่มือสอบกฎหมายปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 13 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562).

หลี่ชุน, ความเป็นกลางและความเป็นอิสระของระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองในศาลประชาชนจีน, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 46 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2560).

China Justice Observer, How Chinese Courts Deal With Government Contract Disputes? Administrative Agreements Series-01 [Online], Source: https://www.chinajusticeobserver.com/a/how-chinese-courts-deal-with-government-contract-disputes/

The Supreme People’s Court of the People’s Republic of China, The Supreme People’s Court Issued Typical Cases of Administrative Agreements [Online], Source: http://www.court.gov.cn/zixun-xiangqing-30181.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.07.2022

How to Cite

บุญล้นเหลือ สมคิด. 2022. “การพิจารณาคดีสัญญาทางปกครองตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนเปรียบเทียบกับประเทศไทย”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 5 (2):125-56. https://doi.org/10.14456/mfulj.2022.9.