การเก็บภาษีเงินได้จากกำไรจากธุรกิจภายใต้ข้อบทที่ 7 ของอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ: กรณีศึกษาคดี NATWEST I

ผู้แต่ง

  • สรรค์ ตันติจัตตานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2022.10

คำสำคัญ:

สถานประกอบการถาวร, กำไรจากธุรกิจ, หน่วยทางภาษีที่แยกต่างหาก, อนุสัญญาภาษีซ้อนฯ

บทคัดย่อ

ตามพื้นฐานของอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ได้วางหลักการไว้ว่าหากมีสถานประกอบการถาวรตั้งอยู่ในรัฐแหล่งเงินได้ รัฐแหล่งเงินได้ย่อมมีสิทธิในการจัดเก็บภาษีจากกำไรที่วิสาหกิจได้รับผ่านสถานประกอบการถาวร คำถามที่ตามมาคือ กำไรที่พึงถือว่าเป็นของสถานประกอบการถาวรนั้นจะพึงพิจารณาอย่างไรภายใต้ข้อกำหนดตามบทบัญญัติในอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่บัญญัติในข้อบทเรื่องกำไรจากธุรกิจในข้อบทที่ 7 ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ความเป็นมาของบทบัญญัติในเรื่องกำไรจากธุรกิจนั้นยาวนานเช่นเดียวกับข้อบทเรื่องสถานประกอบการถาวรซึ่งเมื่อพบว่ามีสถานประกอบการถาวรในประเทศแหล่งเงินได้แล้ว ผู้เสียภาษีกับเจ้าหน้าที่สรรพากรอาจจะเกิดข้อโต้แย้งกันในเรื่องการเก็บภาษีจากกำไรจากธุรกิจ ในบทความนี้เป็นเรื่องคดีพิพาทสำคัญที่เกิดในศาลประเทศสหรัฐอเมริกาในข้อโต้แย้งกันระหว่างผู้เสียภาษีกับเจ้าหน้าที่สรรพากรว่าดอกเบี้ยที่ผู้เสียภาษีจ่ายให้กับหน่วยอื่นภายในวิสาหกิจนั้นได้ถูกจัดเก็บภาษีตามหลัก “หน่วยทางภาษีที่แยกต่างหาก” หรือไม่ ซึ่งประเด็นสำคัญในการโต้แย้งนี้เป็นเรื่องหลักการที่พบอยู่ในข้อบทที่ 7 วรรคที่ 2 ซึ่งกำหนดว่า “...ให้ถือว่ากำไรเป็นของสถานประกอบการถาวรนั้นในส่วนที่พึงคาดหวังได้ว่าสถานประกอบการถาวรนั้นจะได้รับ ถ้าสถานประกอบการถาวรนั้นเป็นวิสาหกิจอันแยกต่างหาก...” ในการวินิจฉัยในคดีนี้ศาลประเทศสหรัฐอเมริกาให้เหตุผลในข้อวินิจฉัยถึงประเด็นดังกล่าว โดยยึดแนวทางการให้เหตุผลตามคำอธิบายต้นแบบของ OECD และให้การตัดสินว่ากฎหมายภายในของประเทศสหรัฐอเมริกาจะขัดหรือแย้งกับหลักการตามอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ที่ตกลงทำกับประเทศคู่สัญญาไม่ได้ ซึ่งคดีนี้ถือเป็นคดีสำคัญที่ถูกยกตัวอย่างเพื่อใช้ในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในข้อบทเรื่องกำไรจากธุรกิจจนกระทั่งปัจจุบัน ทั้งนี้สำหรับประเทศไทยยังไม่มีแนวปฏิบัติจากกรมสรรพากรหรือพบแนวคำวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องกับหลักในเรื่อง “หน่วยทางภาษีที่แยกต่างหาก” รวมทั้งแนวปฏิบัติของวิสาหกิจต่างประเทศที่ต้องเสียภาษีในประเทศไทยเมื่อมีสถานประกอบการถาวรอยู่ในประเทศไทยและต้องเสียภาษีเงินได้ตามข้อบทเรื่องกำไรจากธุรกิจภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ซึ่งการศึกษาคดีภาษีระหว่างประเทศจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบังคับใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ประกอบกับกฎหมายภายในต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

สรรค์ ตันติจัตตานนท์, คำอธิบายกฎหมายภาษีระหว่างประเทศ: ข้อบทเรื่องสถานประกอบการถาวรภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ประวัติศาสตร์ ทฤษฎีแนวคิด แนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศ, (กรุงเทพมหานคร: ปณณรัช, 2560).

สรรค์ ตันติจัตตานนท์, การตีความอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ, MFU Connexion Journal of Humanities and Social Sciences, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2561).

Organization for Economic Cooperation and Development, Model Tax Convention on Income and on Capital: Condensed Version 2017, (OECD: OECD Publishing, 2017).

Organization for Economic Cooperation and Development, Model Tax Convention on Income and on Capital: Condensed Version 1998, (OECD: OECD Publishing, 1998).

Stafford Smiley, National Westminister Bank : Will the IRS ever give up?, Corporate Taxation, Volume 37 (March - April 2010).

Brian Caster, After Natwest: How courts should handle OECD commentary in double taxation treaty interpretation, Northwestern University Law Review, Volume 105 (Summer 2011).

Draft Double Taxation Convention on Income and Capital 1963 [Online], Source: https://read.oecd-ilibrary.org/taxation/draft-double-taxation-convention-on-income-and-capital_9789264073241-en#page73

General Guidelines for the Attribution of Income to Permanent Establishment [Online], Source: https://www.vero.fi/en/detailed-guidance/guidance/59583/general-guidelines-for-the-attribution-of-income-to-permanent-establishment3/

Ordinance on the application of the arm’s length principle to permanent establishments under section 1 (5) of the External Tax Relations Act [Online], Source: https://www.bundesfinanzministerium.de/Content/EN/Downloads/Taxation/External-Tax-Relations/Ordinance-on-the-allocation-of-profits-of-permanent-establishments.pdf?__blob=publicationFile&v=3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.07.2022

How to Cite

ตันติจัตตานนท์ สรรค์. 2022. “การเก็บภาษีเงินได้จากกำไรจากธุรกิจภายใต้ข้อบทที่ 7 ของอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ: กรณีศึกษาคดี NATWEST I”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 5 (2):157-80. https://doi.org/10.14456/mfulj.2022.10.