ปัญหาการใช้มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและแก้ไข ฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • ศศิธร แจ่มจันทร์ นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ วิชาเอกกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ฝุ่น PM 2.5, คุณภาพอากาศ, สิทธิด้านสิ่งแวดล้อม, กฎหมายอากาศสะอาด

บทคัดย่อ

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ทั้งในด้านสุขภาพ อนามัย และการดำเนินชีวิต ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามอย่างหนึ่งที่กระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน โดยในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน ของทุกปี จะเกิดฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณที่สูง อันเนื่องมาจากปัญหาไฟป่า การเผาในพื้นที่เกษตร และฝุ่นควันข้ามแดน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและมีที่ราบคล้ายแอ่งกระทะ จึงทำให้ฝุ่นละอองไม่แพร่กระจายและสามารถแขวนลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานโดยไม่ตกลงสู่พื้นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาหมอกควันข้ามแดนที่มีต้นเหตุมาจากการกระทำนอกราชอาณาจักร ส่วนหนึ่งมาจากภาคเอกชนของไทยที่มีส่วนสนับสนุนการทำเกษตรทั้งในภาคเหนือตอนบนและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายใดที่จะบังคับการกระทำที่ก่อให้เกิดมลพิษเข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้ จากปัญหาที่เกิดขึ้น ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมลงนามในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) เพื่อให้ประเทศภาคีวิเคราะห์ต้นเหตุ และระดับความรุนแรงของไฟป่าและหมอกควันเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน แต่ด้วยข้อกำหนดและแนวทางการดำเนินงานเป็นพียงการรวมตัวเพื่อบันทึกความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเท่านั้น ซึ่งไม่มีนัยยะผูกพันทางกฎหมายที่ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จึงทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนได้อย่างเป็นรูปธรรม

จากผลกระทบที่ประชาชนได้รับ ถือเป็นการถูกละเมิดสิทธิในชีวิต และสิทธิในสุขภาพ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะสิทธิมนุษยชน ทั้งในกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของนานาอารยประเทศ และในปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ได้ยกระดับความคุ้มครองสิทธิของประชาชนในด้านสิ่งแวดล้อม โดยประกาศให้การเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน เป็นสิทธิมนุษยชนสากลเทียบเท่าสิทธิขั้นพื้นฐานด้านอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังไม่ปรากฏความคุ้มครองสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล จึงทำให้ปัญหาการถูกคุกคามสิทธิจากสิ่งแวดล้อมไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการป้องกันและการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือตอนบน คือ กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีหลายฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับมีการบัญญัติและใช้บังคับมานานจึงทำให้เกิดความล้าหลัง ทั้งในมาตรฐานการกำหนดคุณภาพอากาศที่เปลี่ยนไป และแหล่งกำเนิดมลพิษยังขาดมาตรฐานการควบคุมมลพิษทางอากาศ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบจะกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศที่แตกต่างกัน ทำให้ขาดการบูรณาการในการทำงานและการแก้ปัญหาไม่สามารถดำเนินได้อย่างเป็นระบบและทันท่วงที 

จากข้อเรียกร้องขององค์การสหประชาชาติที่ให้รัฐสมาชิกเร่งความพยายามในการแก้ปัญหา จึงเป็นผลให้ประเทศสมาชิก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้นำหลักการคุ้มครองสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของตนเอง เพื่อคุ้มครองพลเมืองของรัฐให้พ้นจากการถูกคุกคามจากภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติกฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) เพื่อใช้บังคับในการแก้วิกฤตมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจนประสบความสำเร็จ สำหรับมาตรการทางกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสนั้น ได้มีการบัญญัติกฎหมายสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นการเฉพาะ และภายหลังได้นำกฎหมายดังกล่าวไปบัญญัติแนบท้ายรัฐธรรมนูญให้มีสถานะเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานอีกประการหนึ่งด้วย สำหรับประเทศไทยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา จึงได้ผลักดันร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดขึ้นมารวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ โดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติกำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ. .... ที่ได้ถูกเสนอโดยภาคประชาชนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 22,000 รายชื่อ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า มีหลักการที่คล้ายคลึงกับกฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) ของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ใช้บังคับใช้ในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือตอนบนอย่างเป็นรูปธรรม และให้ประชาชนชาวไทยได้รับความคุ้มครองสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม จึงสมควรตรากฎหมายสำหรับแก้ปัญหามลพิษทางอากาศขึ้นมาเป็นการเฉพาะ โดยกำหนดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศโดยตรง มีคณะทำงานซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเร่งด่วน มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปยังภูมิภาค และกำหนดพื้นที่เฉพาะที่มีปัญหามลพิษทางอากาศเป็นประจำทุกปีและมีค่าฝุ่นละอองที่เกินมาตรฐานกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อเฝ้าระวังและกำหนดแผนการดำเนินงานที่แตกต่างไปจากพื้นที่ทั่วไป นอกจากนี้ เพื่อให้สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรฐานสากล จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยเพิ่มเติมบทบัญญัติ ให้บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะดำรงชีวิตด้วยอากาศที่สะอาด โดยไม่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ และต้องไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากมลพิษในอากาศ โดยปราศจากการกระทำละเมิดไม่ว่าจากบุคคลหรือจากหน่วยงานของรัฐ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมควบคุมมลพิษ, ข้อมูลสถิติย้อนหลัง [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://air4thai.pcd.go.th/webV3/#/History

กรมควบคุมมลพิษ, ประกาศดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย พ.ศ. 2566 ปรับค่าสารมลพิษเข้มข้นขึ้น ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.pcd.go.th/pcd_news/30028

กรมควบคุมมลพิษ, มลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ: ปัญหาและแนวทาง [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/06/pcdnew-2020-06-05_07-33-31_040770.pdf

กรมอุตุนิยมวิทยา, การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://climate.tmd.go.th

กรมอนามัย, คู่มือฉบับประชาชน การเฝ้าระวัง PM 2.5 อย่างไรให้ปลอดภัย, (นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2563).

กรมอุตุนิยมวิทยา, ภาวะเรือนกระจก [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://climate.tmd.go.th

กรรณิกา สินธิพงษ์, เจตนารมณ์และขอบเขตของกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.admincourt.go.th/admincourt/editorupload/files/1.pdf

กองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564-2573 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://climate.onep.go.th/th/topic/policy-and-strategy/thailand-ndc-roadmap-on-mitigation/

กฤติยา สุขเพิ่ม, มาตรการทางกฎหมายของการป้องกันและควบคุมมลพิษหมอกควันจากการเผาในที่โล่ง กรณีศึกษา ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน, (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558).

กระทรวงต่างประเทศ, การดำเนินงานตามข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน [ออนไลน์],. https://fad.mnre.go.th/th/as/content/255

กระทรวงการต่างประเทศ, ความตกลงปารีส: ก้าวสำคัญของการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://thai-inter-org.mfa.go.th

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,พิธีสารเกียวโต [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://fad.mnre.go.th/th/mph/content/207

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ความตกลงปารีส [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://fad.mnre.go.th/th/mph/content/208

กิตติยาภรณ์ รองเมือง, การประเมินการปลดหล่อยมลพิษจากการเผาไหม้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในที่โล่งแจ้ง (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2558.)

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน ว่าด้วยรัฐ รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย, พิมพ์ครั้งที่ 11, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2564).

คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม, ความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิชุมชนกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์, ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2562).

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ค่า AQI ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index) [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.eng.chula.ac.th/th/29782

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เรียนรู้อยู่กับฝุ่น [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/Chula-PM25.pdf

ทวีศักดิ์ ใจคำสืบ, สถานการณ์หมอกควันในภาคเหนือตอนบน [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.tei.or.th/thaicityclimate/public/document-36.pdf

ไทยพับลิก้า, ประเทศไทยถูกจัดให้มีความเสี่ยงด้านภูมิอากาศสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/2021/04/complex-world-prasart01

นัทมน คงเจริญ, เอกสารประกอบการสอนกฎหมายกับสิ่งแวดล้อม (177452) ปีการศึกษา 1/2561 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.law.cmu.ac.th/law2011/journal/e1559374102.pdf

นฤมล เสกธีระ, ความมีประสิทธิภาพของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม 2558).

เนตรธิดาร์ บุนนาค, ครบรอบ 50 ปี พ.ร.บ. อากาศสะอาด ปี 1970 ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศของสหรัฐอเมริกา [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.sdgmove.com/2021/04/06/50th-anniversary-of-usa-clean-air-act-of-1970/

เนตรธิดาร์ บุนนาค, พลเมืองรัฐนิวยอร์กเห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ทุกคนมีสิทธิในอากาศและน้ำสะอาด และสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.sdgmove.com/2021/11/12/environmental-rights-amendment-pass-in-new-york-constitution/

ประภาภรณ์ โรจน์ศิริรัตน์, มาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นมลพิษ, วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น, ปีที่ 5 ฉบับที 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564).

ปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์, ข้อพิจารณาทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ, จุลนิติ, ปีที่ 53 ฉบับที่1 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2553).

ปิยนันท์ ศรีทองทิม, มาตรการทางกฎหมายในการลดมลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (ตุลาคม 2563).

พงษ์ศักดิ์ ปัตถา, กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมฝุ่น PM 2.5 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://cdc.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid =2365

ภัทริดา สุคนนี, การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=153

รักไท เทพปัญญา, กฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) ของสหรัฐอเมริกา, กฤษฎีกาสาร, ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม-กันยายน 2564).

รุจน์ ชื่นบาน และนนทรัฐ ไผ่เจริญ, ปี 67 เชียงใหม่มีผู้ป่วยจาก PM2.5 แล้วกว่า 3 หมื่นราย [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.benarnews.org/thai/news/th-air-pollution-patients-chiangmai-03202024150824.html

วรรณภา ติระสังขะ, กฎบัตรว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมประเทศฝรั่งเศส: หลักการพื้นฐานในกฎหมายสิ่งแวดล้อม (Le Code de l’environnement) [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=707

วีรวัฒน์ เพ็ชรสม, การคุ้มครองและรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญกับศาลยุติธรรม, (การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รุ่นที่ 18 วิทยาลัยข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม, 2562).

วัชรินทร์ ชินวรวัฒนา, นโยบายการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว เปรียบเทียบของไทยและต่างประเทศ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/research/economic-pulse/economic-pulse-202307.html

ศิริรัตน์ เปลี่ยนเพ็ง, ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 และกฎหมายมลพิษข้ามพรมแดน [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://cdc.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=3503

ศูนย์วิจัยกสิกร, วิกฤตฝุ่น PM 2.5 อาจยิ่งแย่ลงถ้าไม่เร่งจัดการ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/PM25-Pollution-CIS3401-10-04-2023.aspx

สำนักข่าวไทยรัฐ, สมัชชาใหญ่ UN ประกาศให้การเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นสิทธิมนุษยชน เพิ่มพลังให้การต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อม [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://plus.thairath.co.th/topic/naturematter/101915

สำนักข่าวอิศรา, กางร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด 7 ฉบับ กุญแจแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศของไทย [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://isranews.org/article/isranews-scoop/128236-isra-news-6.html

สำนักข่าวอิศรา, ฝุ่นพิษ PM 2.5 ข้ามพรมแดน’ กลไกอาเซียนไร้ความหมาย ต้องใช้ กม.ระหว่างประเทศ [ออนไลน์], https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/119777-isranews-336.html

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สมุดปกเขียวอากาศสะอาด (Clean Air Green Paper): บูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับอากาศสะอาด, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด, 2565).

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, ดัชนีคุณภาพอากาศ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://pm2_5.nrct.go.th/definition

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา, คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รับรองให้ สิ่งแวดล้อมสะอาดเป็นสิทธิมนุษยชน [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://lawforasean.krisdika.go.th/Content/View?Id=858&Type=1

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, พลังงานชีวมวล พลังงานจากสิ่งมีชีวิต ต่อชีวิตให้ชาวโลก [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.opsmoac.go.th/kamphaengphet-manual-files-421891791835

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการจัดการปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, จุลนิติ, ปีที่ 20 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2566).

สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, รู้จักฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่มากับมลภาวะ และวิธีการเลือกหน้ากากป้องกัน [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.tlclab.net/pm25/

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, (กรุงเทพมหานคร: สำนักกรรมาธิการ 1, 2563.

อนันต์ คงเครือพันธุ์, กฎหมายกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Law and Climate Change), (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2559).

อนุชา ดีสวัสดิ์, ปัญหาฝุ่นพิษภาคเหนือของประเทศไทย [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/611509

อภิรัฐ ดีทองอ่อน, มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศอันเกิดจากการเผาในที่โล่งในภาคเกษตรกรรม [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://so01.tci-thaijo.org

อันโตนิโอ โฉมชา. ย้อนรอยฝุ่นควันมรสะท้านโลก. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.blockdit.com/posts/5e2e791e5070e60cabffb120

Earth Justice, Article 1 Section 19: New York’s new Environmental Right. [Online], Source: https://earthjustice.org/wp-content/uploads/20230209_green_amendment.pdf

SDGs, พ.ร.บ. อากาศสะอาด หลักประกันให้คนไทยกลับมาสูดอากาศที่ดีต่อลมหายใจ [ออนไลน์], แหล่งที่มา:https://www.sdgmove.com/2021/05/13/sdg-updates-thailandcan-clean-air-act-for-thai-people/

Thai PBS, เทียบร่างกฎหมายอากาศสะอาด 7 ฉบับ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://policywatch.thaipbs.or.th/article/environment-16

Thai Publica, ศาลตัดสินกลุ่มเยาวชนชนะ รัฐละเมิดสิทธิที่จะมีสภาพแวดล้อมที่สะอาดตามรัฐธรรมนูญ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/2023/08/judge-rules-in-favor-of-young-activists-in-montana-climate-trial/

THE CITIZEN.PLUS Thai PBS, ส่องวิกฤตปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือตอนบน ที่ส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนมาอย่างยาวนาน, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://thecitizen.plus/node/75677

The Citizen. Plus, Thai PBS, ค่ามาตรฐานฝุ่น แค่ไหนที่ปลอดภัยกับสุขภาพ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://thecitizen.plus/node/51914

Amnesty International Thailand, ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.amnesty.or.th/our-work/hre/what-udhr/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15.01.2025

How to Cite

แจ่มจันทร์ ศศิธร. 2025. “ปัญหาการใช้มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและแก้ไข ฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือตอนบน”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 8 (1). https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3911.