การบัญญัติความรับผิดทางอาญาเพื่อป้องกันความเสียหาย: ศึกษากรณีความเหมาะสมของการบัญญัติความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับบัญชีม้า

ผู้แต่ง

  • นิรัฐกานต์ บุญรอด นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชานิติศาสตร์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์ รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชากฎหมายอาญา สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

ความรับผิดทางอาญา, การป้องกันความเสียหาย, บัญชีม้า

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้ทำการวิเคราะห์ “ความเหมาะสมของการบัญญัติความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับบัญชีม้า” ภายใต้แนวคิดและหลักการของ “การบัญญัติความรับผิดทางอาญาเพื่อป้องกันความเสียหาย” โดยเป็นการวิเคราะห์ความเหมาะสมทั้งในเชิงเนื้อหา (content) และในเชิงรูปแบบ (format) กล่าวคือ ในเชิงเนื้อหาได้ทำการวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมในการที่รัฐตราบทบัญญัติเกี่ยวกับบัญชีม้าขึ้นมา และในเชิงรูปแบบได้ทำการวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมในการที่รัฐเลือกที่จะตราบทบัญญัติเกี่ยวกับบัญชีม้าไว้ในพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ผลการวิเคราะห์พบว่า การที่รัฐตราบทบัญญัติเกี่ยวกับบัญชีม้าขึ้นมาเป็นการเฉพาะมีความเหมาะสมแล้ว เนื่องจาก (1) บัญชีม้ามีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดภยันตรายขึ้นในอนาคต (2) บัญชีม้ามีลักษณะที่น่าตำหนิ (3) บัญชีม้าจะนำไปสู่ภยันตรายต่อส่วนรวม และ (4) การบัญญัติความรับผิดทางอาญาสำหรับบัญชีม้าคือมาตรการสุดท้าย และการที่รัฐตราบทบัญญัติเกี่ยวกับบัญชีม้าไว้ในพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 มีความเหมาะสมแล้ว เนื่องจากสถานการณ์และความรวดเร็วของเทคโนโลยีในช่วงเวลานั้น (พ.ศ. 2566) เป็นกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ที่จะต้องตราบทบัญญัติเกี่ยวกับบัญชีม้าขึ้นมาเป็นการเฉพาะในรูปแบบ “พระราชกำหนด” เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยของสาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ

Downloads

Download data is not yet available.

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน, พิมพ์ครั้งที่ 7 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2564).

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 11 (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรุงสยาม พับลิชชิ่ง, 2562).

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 11 (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรุงสยาม พับลิชชิ่ง, 2562).

ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ, ความผิดที่เป็นการเริ่มต้น: ศึกษากรณีการรับอาสากระทำความผิด, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 48 ฉบับที่ 4 (ธันวาคม 2562).

ธันยธรณ์ โรจน์มหามงคล, กฎหมายออกกี่โมง?: ชำแหละความล่าช้าในการออกกฎหมายและข้อเสนออัปสปีดสภาไทย [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.the101.world/legislative-process-inefficiency/

วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2563).

วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์, โทษจำคุก: แนวคิด ความหมาย ประเภท ทฤษฎี และข้อสังเกตบางประการว่าด้วยการปรับใช้ทฤษฎี ใน หนังสือรพีพัฒนศักดิ์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, บรรณาธิการโดย ณัฐดนัย นาจันทร์, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ไทภูมิพับลิชชิ่ง, 2567).

วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์, มาตรการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษจำคุกเพื่อป้องกันสังคม, (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565).

วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์, หลักป้องกันสังคมในมาตรการไม่ควบคุมตัว, วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (ธันวาคม 2565).

สมยศ เชื้อไทย, ความรู้กฎหมายทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 15 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2551).

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, คณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://24hicarecenter.com/cybervaccinated

อัจฉรียา ชูตินันทน์, อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563).

Andrew Ashworth and Lucia Zedner, Prevention and Criminalization: Justifications and Limits, New Criminal Law Review, Volume 15 Issue 4 (October 2012).

Andrew Ashworth, Principles of Criminal Law, 6th edition (New York: Oxford University Press, 2009).

Andrew Cornford, Preventive Criminalization, [Online], Source: https://online.ucpress.edu/nclr/article/18/1/1/68807/Preventive-Criminalization

Douglas Husak, Why Punish the Deserving? in The Philosophy of Criminal Law: Selected Essays, Edited by Douglas Husak, (Oxford: Oxford University Press, 2010).

Jeroen ten Voorde, Prohibiting Remote Harms: On Endangerment, Citizenship and Control, Utrecht Law Review, Volume 10 Issue 1 (January 2014).

R. A. Duff, Criminalizing Endangerment, Louisiana Law Review, Volume 65 Issue 3 (Spring 2005).

Simon Kemp, Digital 2023: Thailand [Online], Source: https://datareportal.com/reports/digital-2023-thailand

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15.01.2025

How to Cite

บุญรอด นิรัฐกานต์, และ ดำรงค์กุลนันท์ วิวรรธน์. 2025. “การบัญญัติความรับผิดทางอาญาเพื่อป้องกันความเสียหาย: ศึกษากรณีความเหมาะสมของการบัญญัติความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับบัญชีม้า”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 8 (1). https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3920.