ประเทศญี่ปุ่น เหรียญสองด้านของการเป็นสังคมแห่งความกลมเกลียวและไม่นิยมซึ่งข้อพิพาท

ผู้แต่ง

  • สุวลักษณ์ ขันธ์ปรึกษา อาจารย์ประจำสาขาวิชากฎหมายแพ่งและธุรกิจ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.9

คำสำคัญ:

สังคมวิทยากฎหมาย, สังคมญี่ปุ่น, ความกลมเกลียว, สังคมไม่นิยมซึ่งข้อพิพาท

บทคัดย่อ

บทความสั้นเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะถ่ายทอดมุมมองของคนญี่ปุ่นต่อการฟ้องร้องดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นการนำเสนอโดยอ้างอิงจากบทความสังคมวิทยากฎหมายที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่และมีการอ้างอิงถึงอย่างแพร่หลาย ผลการศึกษาจากบทความเหล่านั้นแสดงว่า ญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับความสมัครสมานกลมเกลียวหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของสังคม (Harmony) พยายามหลีกเลี่ยงการเป็นคดีความ (Non-Litigiousness) การฟ้องร้องดำเนินคดีจะเกิดขึ้นเป็นตัวเลือกสุดท้าย (Last Resort) เมื่อไม่มีทางอื่นใดที่จะจัดการกับข้อพิพาทโดยละมุนละม่อมได้แล้วเท่านั้น ด้วยทัศนคติเช่นนี้ ส่งผลให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีสถิติอาชญากรรมและการฟ้องร้องคดีที่ต่ำเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เป็นสังคมที่มีภาพลักษณ์ของความกลมเกลียวไม่นิยมซึ่งข้อพิพาท อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมีสองด้าน อีกด้านหนึ่งของสังคมที่ดูสงบสุขกลับเต็มไปด้วยความเครียดและความกดดันของผู้คน เป็นสังคมที่มีบรรทัดฐานที่เคร่งครัดจริงจังและมีวิถีประชาที่รุนแรง ส่งผลให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดติด 1 ใน 20 อันดับแรกของโลกมาเป็นเวลานาน ทั้งนี้ ผู้เขียนได้ถ่ายทอดประสบการณ์ตรงที่ได้พบเจอแง่มุมอันเป็นด้านลบของเหรียญอีกด้านนี้ด้วยตนเอง

Downloads

Download data is not yet available.

References

นคร พจนวรพงษ์, อาชีพทนายความไทยเข้าสู่ยุค ‘ตีบตัน’ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/article/news_2230729

วรวิทย์ สุนทรเสถียรเลิศ, การเริ่มคดีอาญาโดยพนักงานอัยการ, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2557).

สำนักงานศาลยุติธรรม, รายงานสถิติคดีศาลยุติธรรมทั่วราชอาณาจักรไทยประจำปี พ.ศ. 2555, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลยุติธรรม, 2556).

David J. Przeracki, Working It Out: A Japanese Alternative to Fighting It Out, The Cleveland State Law Review, Volume 37 Issue 1 (1989).

Etsuko Sugiyama, Simplified Civil Procedure in Japan, Erasmus Law Review, Issue 4 (December 2015).

J. Mark Ramseyer and Minoru Nakazato, The Rational Litigant: Settlement Amounts and Verdict Rates in Japan, The Journal of Legal Studies, Volume 18 Issue 2 (June 1989).

Japan Federation of Bar Associations, White Paper on Attorneys 2020 [Online], Source: https://www.nichibenren.or.jp/library/en/about/data/WhitePaper2020.pdf

John Owen Haley, The Myth of the Reluctant Litigant, Journal of Japanese Studies, Volume 4 Issue 2 (Summer 1978).

Petr H., 25 Countries With The Highest Suicide Rates In The World [Online], Source: https://list25.com/25-countries-with-the-highest-suicide-rates-in-the-world/

Robert H. Mnookin and Lewis Kornhauser, Bargaining in the Shadow of the Law: The Case of Divorce, The Yale Law Journal, Volume 88 Issue 5 (April 1979).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.01.2023

How to Cite

ขันธ์ปรึกษา สุวลักษณ์. 2023. “ประเทศญี่ปุ่น เหรียญสองด้านของการเป็นสังคมแห่งความกลมเกลียวและไม่นิยมซึ่งข้อพิพาท”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 6 (1):323-33. https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.9.