ประเทศไทยกับความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วมอนุสัญญาว่าด้วยการรับรองและบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์ ค.ศ. 2019

ผู้แต่ง

  • ชญานิศ วิชชุประภา นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชากฎหมายเอกชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.5

คำสำคัญ:

การรับรองและบังคับตาม, คำพิพากษาศาลต่างประเทศ, คดีแพ่งและพาณิชย์

บทคัดย่อ

ประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ไม่ได้มีความตกลงระหว่างประเทศกับประเทศใดว่าด้วยการรับรองและบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์โดยเฉพาะ ตลอดจนไม่ปรากฏกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องโดยตรง ดังนั้น เมื่อมีการร้องขอให้ศาลไทยรับรองหรือบังคับตามคำพิพากษาของศาลประเทศอื่น ในปัจจุบันทางปฏิบัติจึงยังคงไม่มีความชัดเจนแน่นอน ซึ่งความคลุมเครือต่อหลักการดังกล่าวนี้ในประเทศไทยมีมาอย่างยาวนาน และเป็นที่มาของการตั้งประเด็นปัญหาของบทความนี้

ในปี ค.ศ. 2019 ที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (HCCH) ได้มีการจัดทำอนุสัญญาฉบับใหม่ว่าด้วยหลักการดังกล่าว เรียกกันว่า “2019 Hague Judgments Convention” ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากนานาชาติ แม้ว่าจะยังไม่มีผลบังคับใช้และยังไม่มีประเทศใดเข้าเป็นรัฐภาคี บทความนี้จึงมีความมุ่งหมายทำการวิเคราะห์เนื้อหาของอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 2019 นี้ ควบคู่ไปกับการศึกษากฎหมายภายในที่มีอยู่ของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการรับรองและบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน เป็นที่ชัดเจนว่าประเทศไทยไม่ได้มีความตกลงระหว่างประเทศกับประเทศใด และไม่มีกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการรับรองและบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์โดยตรงเลย มีเพียงคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องบางฉบับเท่านั้น

กล่าวโดยสรุปแล้ว ผลการศึกษาเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ประเทศไทยควรมีกฎหมายภายในว่าด้วยการรับรองและบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเข้าร่วมในอนุสัญญาฉบับนี้ หรือฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องในอนาคตหรือไม่ก็ตาม เนื่องจากประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีความพร้อมที่มากพอในการเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการรับรองและการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์ ค.ศ. 2019 แต่ประเทศไทยควรที่จะพัฒนากฎหมายที่เหมาะสมขึ้นมาเป็นของตนเองเสียก่อน โดยอาจดูต้นแบบจากกฎหมายของประเทศอื่น หรือดึงเอาส่วนดีของอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้ หรืออาจสร้างนวัตกรรมทางกฎหมายใหม่ขึ้นมาเองก็ได้ เพื่อที่จะได้มีกฎหมายภายในที่เป็นลายลักษณ์อักษร ชัดเจน เป็นระบบ และคุ้มครองประโยชน์ของคนไทยอย่างแท้จริง ก่อนที่จะมีการตัดสินใจเข้าร่วมในความตกลงระหว่างประเทศไม่ว่าฉบับใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องการรับรองและบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมล สนธิเกษตริน, ความร่วมมือทางศาลเกี่ยวกับการยอมรับบังคับตามคำพิพากษาต่างประเทศ, นิตยสารดุลพาห, ปีที่ 31 เล่มที่ 2 (เมษายน 2527).

จันตรี สินศุภฤกษ์, การยอมรับและบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศ, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531).

ณัฐพล จุลละเกศ, การรับรองและบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศในสหรัฐอเมริกา, นิตยสารดุลพาห, ปีที่ 44 เล่มที่ 2 (มิถุนายน 2540).

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, พิมพ์ครั้งที่ 5 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561).

รัชนีกร ลาภวณิชชา, การพัฒนากฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งอำนาจศาลในประชาคมอาเซียน [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://web.krisdika.go.th/pdfPage.jsp?type=act&actCode=137113

วนิดา วัชรานุกูล, ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548).

สถาบันวิชาการนโยบายกิจการสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการการยอมรับและการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.led.go.th/articles/pdf/f-court.pdf

สาวิกา สุมานันท์, การบังคับคดีแพ่งตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศโดยศาลไทย: ศึกษากรณีเฉพาะคำพิพากษาศาลประเทศสิงคโปร์, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539).

สุรศักดิ์ วาจาสิทธิ์, การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ, Huachiew Chalermprakiet Law Journal, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม 2554).

อนันต์ ช่วยนึก, การรับรองและการบังคับตามคำพิพากษาของศาล ในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 (มิถุนายน 2556).

อานนท์ ศรีบุญโรจน์, คำพิพากษาของศาลในกลุ่มประเทศอาเซียน จะมีผลในอีกประเทศหนึ่งหรือไม่?, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2556).

Caffrey, Bradford A., International Jurisdiction and Recognition and Enforcement of Foreign Judgments in the LAWASIA region: a Comparative Study of the Laws of Eleven Asian Countries Inter-se and with the E.E.C. Countries, (North Ryde: N.S.W., CCH Australia, 1985).

Sara Sheffield and Derek Bayley, The new Hague Judgements Convention [Online], Source: https://www.hfw.com/The-New-Hague-Judgments-Convention

Volterra Fietta, The New 2019 Hague Judgments Convention [Online], Source: https://www.volterrafietta.com/the-new-2019-hague-judgments-convention/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.01.2023

How to Cite

วิชชุประภา ชญานิศ. 2023. “ประเทศไทยกับความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วมอนุสัญญาว่าด้วยการรับรองและบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์ ค.ศ. 2019”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 6 (1):185-228. https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.5.