สัญญาระหว่างสมรส : ข้อจำกัดเกี่ยวกับช่วงเวลาภายใต้ระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามสัญญาของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามสัญญา, สัญญาระหว่างสมรส, เสรีภาพในการทำสัญญา

บทคัดย่อ

โดยทั่วไป ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสย่อมเป็นไปตามกฎหมายครอบครัว หรือที่เรียกว่า “ระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามกฎหมาย” แต่คู่สมรสแต่ละคู่ย่อมมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันไปจนเป็นเหตุให้ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามกฎหมายอาจไม่เหมาะสมกับคู่สมรสบางคู่ จึงต้องเปิดโอกาสให้คู่สมรสมีเสรีภาพในการทำสัญญาร่วมกันเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างกันได้ด้วย หรือที่เรียกว่า “ระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามสัญญา” ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสมีกฎหมายเป็นบ่อเกิดลำดับแรกและสัญญาเป็นบ่อเกิดลำดับรอง ในระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามสัญญาของต่างประเทศ ทั้งสัญญาก่อนสมรส และสัญญาระหว่างสมรสต่างมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม แม้ระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามสัญญาของประเทศไทยประกอบไปด้วยสัญญาก่อนสมรสและสัญญาระหว่างสมรสเช่นเดียวกัน แต่กลับมีเพียงสัญญาก่อนสมรสเท่านั้นที่มีเนื้อหาในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามกฎหมาย เนื่องจากสัญญาระหว่างสมรสมีเนื้อหาในการกำหนดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเฉพาะเรื่องซึ่งเกิดเป็นข้อจำกัดเกี่ยวกับช่วงเวลาในการใช้เสรีภาพในการทำสัญญาของคู่สมรสเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสัญญาระหว่างสมรสเพื่อขยายขอบเขตช่วงเวลาของระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามสัญญาของประเทศไทย

Downloads

Download data is not yet available.

References

จี๊ด เศรษฐบุตร, หลักกฎหมายแพ่งลักษณะ นิติกรรมและหนี้, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2522).

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บันทึกคำสัมภาษณ์พระยามานวราชเสวี, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2557)

ชาติชาย อัครวิบูลย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2552)

โชค จารุจินดา, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย ครอบครัว, (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2516)

ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์, ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2565).

ประสพสุข บุญเดช, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย ครอบครัว, พิมพ์ครั้งที่ 18 (กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา, 2553).

พระยาพิจารณาปฤชามาตย์, คำอธิบายลักษณผัวเมีย, (พระนคร: โรงพิมพ์พิศาลบรรณนิติ์, 2461).

ไพโรจน์ กัมพูสิริ, รวมบทความ กฎหมายลักษณะครอบครัว, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2559).

มานิต มานะทัต, โน้ตแนะนำและสัมมนาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยครอบครัว, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ, 2517)

ศนันท์กรณ์ (จำปี) โสตถิพันธุ์, คำอธิบายนิติกรรม สัญญา, พิมพ์ครั้งที่ 16 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2554).

ศริ มลิลา, คำบรรยายวิชาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2516).

ศักดา ธนิตกุล, แนวคิด หลักกฎหมาย และคำพิพากษา กฎหมายกับธุรกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2555).

สมยศ เชี้อไทย, คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 20 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2557).

สอาด นาวีเจริญ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว, (2504).

เสนีย์ ปราโมทย์, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย นิติกรรมและหนี้ เล่ม 1 ภาค 1-2, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2561).

เสนีย์ ปราโมทย์, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย ครอบครัวมฤดก พุทธศักราช 2508, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2508).

อานนท์ มาเม้า, กฎหมายทรัพย์สิน : ความรู้พื้นฐานทางความคิด หลักทั่วไปและบทเบ็ดเสร็จทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2564).

Anne Sanders, Private Autonomy and Marital Property Agreements, The International and Comparative Law Quarterly, Volume 59 Issue 3 (July 2010).

Aurelia Colombi Ciacchi, Chantal Mak and Zeeshan Mansoor, Case 7: Nuptial Agreements in Immoral Contracts in Europe, Edited by Aurelia Colombi Ciacchi, Chantal Mak and Zeeshan Mansoor, (Cambridge: Intersentia, 2014).

Christophe Blanchard, Droit des régimes matrimoniaux, 2 ed. (Paris: LexisNexis, 2023).

Cristina González Beilfuss, Agreements in European Family Law – The Findings, Theoretical Assessments and Proposals of the Commission on European Family Law (CEFL), European Review of Contract Law, Volume 18 Issue 2 (2022).

Dalling Samuel Jed, Regulating Prenuptial Agreements: Balancing Autonomy and Protection, (Master’s Thesis, Faculty of Law, Durham University, 2013).

François Terré et Philippe Simler, Régimes matrimoniaux et statut patrimonial des couples non mariés, 9 ed. (Paris: Dalloz, 2024).

Jens M. Scherpe, Chapter 14 Contracting out of the Default Relationship Property Regime – Comparative Observations in Law and Policy in Modern Family Finance, Edited by Nicola Peart, Jessica Palmer Margaret Briggs and Mark Henaghan, (Cambridge: Intersentia, 2017).

Jens M. Scherpe, Introduction in Marital Agreements and Private Autonomy in Comparative Perspective, Edited by Jens M. Scherpe, (Oregon: Hart Publishing, 2012).

Katharina Boele-Woelki, General Rights and Duties in the CEFL Principles on Property Relations between Spouses in Family Law and Culture in Europe, Edited by Katharina Boele-Woelki, Nina Dethloff and Werner Gephart, (Cambridge: Intersentia, 2014).

Katharina Boele-Woelki and Maarit Jänterä-Jareborg, Initial Results of the Work of the CEFL in the Field of Property Relations between Spouses in The Future of Family Property in Europe, Edited by Katharina Boele-Woelki, Joanna K. Miles and Jens M. Scherpe, (Cambridge: Intersentia, 2011).

Katharine K. Baker, Equality and Family Autonomy, Journal of Constitutional Law, Volume 24 Issue 2 (April 2022).

Nigel Lowe, Marital Property Agreement in Family Law and Culture in Europe, Edited by Katharina Boele-Woelki, Nina Dethloff and Werner Gephart, (Cambridge: Intersentia, 2014).

Nina Dethloff, Contracting in Family Law: A European Perspective in The Future of Family Property in Europe, Edited by Katharina Boele-Woelki, Joanna K. Miles and Jens M. Scherpe, (Cambridge: Intersentia, 2011).

Ruth Lamont, Family Law, (Oxford: Oxford University Press, 2018).

Satoshi Minamikata, Family and Succession Law in Japan, 3 ed. (Netherlands: Wokters Kluwer, 2020).

Walter Pintens, Marital Agreements and Private Autonomy in France and Belgium in Marital Agreements and Private Autonomy in Comparative Perspective, Edited by Jens M. Scherpe, (Oregon: Hart Publishing, 2012).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15.01.2025

How to Cite

ราชประดิษฐ์ วิมพัทธ์. 2025. “สัญญาระหว่างสมรส : ข้อจำกัดเกี่ยวกับช่วงเวลาภายใต้ระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามสัญญาของประเทศไทย”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 8 (1). https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/4047.