ข้อวิจารณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในเรื่องเสรีภาพในการพูดและเสรีภาพในการแสดงออกต่อร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์

ผู้แต่ง

  • โชคชัย เนตรงามสว่าง อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการสูงสุด
  • สุรวิช อคินธนโชติ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

อาชญากรรมไซเบอร์, สิทธิมนุษยชน, เสรีภาพในการพูด, เสรีภาพในการแสดงออก, ร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์

บทคัดย่อ

อาชญากรรมไซเบอร์เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติและภูมิภาค อาชญากรรมไซเบอร์มีหลากหลายประเภทและภัยทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามการพัฒนาของเทคโนโลยี ซึ่งประเทศต่าง ๆ เคยได้ร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะสหภาพยุโรปได้มีการตกลงทำอนุสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมไซเบอร์ อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมไซเบอร์ยังเป็นปัญหาที่ทุกประเทศต่างเผชิญอยู่ในปัจจุบัน องค์การสหประชาชาติจึงมีแนวคิดในการทำกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อเจรจาอนุสัญญาเพื่อต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ในการกระทำความผิดทางอาญา อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนในร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ยังเป็นข้อที่ประชาคมโลกกังวล โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการพูดหรือการแสดงออก โดยมีประเด็นปัญหาต่อร่างอนุสัญญากล่าวคือ ปัญหาเรื่องคำจำกัดความ ขอบเขต การยกเว้นการกระทำผิดของเด็ก การค้นและยึดข้อมูลที่เก็บไว้ และเงื่อนไขและการคุ้มกันสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศและความช่วยเหลือทางกฎหมาย ซึ่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและองค์กรไม่แสวงหากำไรอื่น ๆ แนะนำให้มีการอ้างอิงอย่างชัดเจนถึงสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง การมีข้อกำหนดการปกป้องหลักสิทธิมนุษยชน มีขอบเขตที่ชัดเจนและเป็นไปอย่างแคบของความผิดทางอาญาภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมทางไซเบอร์ มีการยกเว้นการกระทำผิดของเด็ก และบทบัญญัติที่ชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการในทางที่มิชอบ

Downloads

Download data is not yet available.

References

แอมเนสตี้, เสรีภาพในการแสดงออก [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.amnesty.or.th/our-work/freedom-expression/

กระทรวงการต่างประเทศ, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง

และสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://humanrights.mfa.go.th/th/humanrights/obligation/international-human-rights-mechanism/ICCPR.php

กระทรวงการต่างประเทศ, คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ คำมั่นด้านสิทธิมนุษยชนของไทย และกระบวนการ UPR ฉบับประชาชน [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://humanrights.mfa.go.th/upload/pdf/hrcth.pdf

กระทรวงการต่างประเทศ, ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://humanrights.mfa.go.th/upload/pdf/udhr-th-en.pdf

สถานทูตสหรัฐฯ และสถานกงสุลในประเทศไทย, รายงานด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทย [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://th.usembassy.gov/th/our-relationship-th/official-reports-th/2022-human-rights-reports-thailand-th/

สิงหนาท พงศ์ภิญโญศักดิ์, ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำข้อมูลบิดเบือนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์: ศึกษากรณีการเผยแพร่ข้อมูลทางการเมือง [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://law.master.kbu.ac.th/StudentTheses/2562/05.pdf

ilaw, เปิดนิยาม-แยกองค์ประกอบ “ความผิดฐานนำเข้าข้อมูลเท็จ” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.ilaw.or.th/articles/4748

Chat Le Nguyen and Wilfred Golman, Diffusion of the Budapest Convention on Cybercrime and the Development of Cybercrime Legislation in Pacific Island Countries: ‘Law on the Books’ vs ‘Law in Action’, Computer Law & Security Review Volume 40 (April 2021).

Commonwealth Secretariat, Pacific to Establish Cybercrime Collaborative Platform as Threat Escalates [Online], Source: https://thecommonwealth.org/news/pacific-establish-cybercrime-collaborative-platform-threat-escalates

Commonwealth Secretariat, Report of the Commonwealth Working Group of Experts on Cybercrime (Meeting of Common-wealth Law Ministers and Senior Officials) [Online], Source: https://www.combattingcybercrime.org/files/virtual-library/international-cooperation/report-of-the-commonwealth-working-group-of-experts-on-cybercrime.pdf

EFF, Privacy International and Electronic Frontier Foundations’ Comments on the Consolidated Negotiating Document of the UN Cybercrime Treaty [Online], Source: https://www.unodc.org/documents/Cybercrime/AdHocCommittee/4th_Session/Documents/Multi-stakeholders/PI-EFF_comments_on_consolidated_text_December_2022.pdf

European Parliament, Understanding Cybercrime [Online], Source: https://www.europarl.europa.eu/RegData/etudes/BRIE/2024/760356/EPRS_BRI(2024)760356_EN.pdf

ITU, Capacity Building and ICT Policy, Regulatory and Legislative Frameworks Support for Pacific Island Countries (ICB4PAC) [Online], Source: https://www.itu.int/en/ITU-D/Projects/ITU-EC-ACP/ICB4PAC/Pages/default.aspx

Joint Statement, Joint Statement on the Proposed Cybercrime Treaty Ahead of the Concluding Session January 23, 2024 [Online], Source: https://cdt.org/wp-content/uploads/2024/01/Joint-Advocacy-Statement-Cybercrime-Convention-Jan-23-2024.pdf

Katitza Rodriguez, The UN Cybercrime Draft Convention Remains Too Flawed to Adopt [Online], Source: https://www.eff.org/deeplinks/2024/06/un-cybercrime-draft-convention-remains-too-flawed-adopt

Michael Minges and Christoph Stork, Economic and Social Impact of ICT in the Pacific [Online], Source: https://www.theprif.org/documents/regional/information-communication-technology-ict/economic-and-social-impact-ict-pacific-0

Natadola Jyoti Pratibha, How Cyber Criminals Defraud Fijians [Online], Source: https://fijisun.com.fj/2018/12/08/how-cyber-criminals-defraud-fijians/

OHCHR, Human Rights and the Draft Cybercrime Convention [Online], Source: https://www.ohchr.org/sites/default/files/documents/issues/civicspace/DRAFT-CYBERCRIME-CONVENTION.pdf

Reka Furtos, Press Release United Nations: Member States Finalize a New Cybercrime Convention New York, 9 August 2024 [Online], Source: https://www.unodc.org/unodc/frontpage/2024/August/united-nations_-member-states-finalize-a-new-cybercrime-convention.html

Summer Walker, Still Poles Apart UN Cybercrime Treaty Negotiation, June 2023 [Online], Source: https://globalinitiative.net/wp-content/uploads/2023/06/Summer-Walker-Poles-apart-UN-cybercrime-treaty-negotiations-GI-TOC-June-2023.pdf

Telecommunication Development Sector ITU, Understanding Cybercrime: Phenomena, Challenges and Legal Response [Online], Source: https://www.itu.int/ITU-D/cyb/cybersecurity/docs/Cybercrime%20legislation%20EV6.pdf

United Nations, A/AC.291/L.15, Draft United Nations Convention Against Cybercrime Strengthening International Cooperation for Combating Certain Crimes Committed by means of Information and Communications Technology Systems and for the Sharing of Evidence in Electronic Form of Serious Crimes [Online], Source: https://documents.un.org/doc/undoc/gen/v24/055/06/pdf/v2405506.pdf

United Nations, A/RES/74/247, Countering the Use of Information and Communications Technologies for Criminal Purposes [Online], Source: https://documents.un.org/doc/undoc/gen/n19/440/28/pdf/n1944028.pdf

United Nations, Convention on the Rights of the Child [Online], Source: https://www.ohchr.org/en/instruments-mechanisms/instruments/convention-rights-child

United Nations, CRC/C/GC/25, General Comment No. 25 (2021) on Children’s Rights in Relation to the Digital Environment [Online], Source: https://www.ohchr.org/en/documents/general-comments-and-recommendations/general-comment-no-25-2021-childrens-rights-relation

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15.01.2025

How to Cite

เนตรงามสว่าง โชคชัย, และ อคินธนโชติ สุรวิช. 2025. “ข้อวิจารณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในเรื่องเสรีภาพในการพูดและเสรีภาพในการแสดงออกต่อร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 8 (1). https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/4078.