การตีความเอกสาร

ผู้แต่ง

  • อรุณี วสันตยานันท์ นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชากฎหมายเอกชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.2

คำสำคัญ:

การตีความการแสดงเจตนา, การตีความเอกสารสัญญา

บทคัดย่อ

บทความนี้เน้นศึกษาเรื่องการตีความเอกสารตามมาตรา 10 ถึงมาตรา 14 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ภายใต้บทบัญญัติอันเกี่ยวด้วยการตีความการแสดงเจตนาในมาตรา 171 เพื่อพิจารณาแนวทางในการตีความนิติกรรมซึ่งมีเอกสารเป็นหลักฐาน ทั้งกรณีที่เจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีไม่ต้องตรงกัน หรือไม่สามารถค้นหาเจตนาที่แท้จริงของผู้ทำนิติกรรม และกรณีที่ข้อตกลงซึ่งปรากฏในเอกสารมีความชัดเจน หรือสามารถสื่อถึงเจตนาของผู้ทำนิติกรรมแล้ว รวมถึงกรณีที่ไม่ปรากฏเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานแห่งการทำนิติกรรมด้วย นอกจากนี้จะได้ศึกษาประเด็นปัญหาเกี่ยวกับถ้อยคำหรือข้อความตามบทบัญญัติ เพื่อค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายและแนวทางในการปรับใช้ตามคำพิพากษา และจะได้ศึกษาบทบัญญัติ หรือหลักกฎหมายที่มีความคล้ายคลึงกับหลักการตามบทบัญญัติดังกล่าวในกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายอังกฤษและกฎหมายฝรั่งเศส กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงกฎหมายแม่แบบ (Model Law) และกฎต้นแบบ (Model Rules) ได้แก่ กฎหมายการค้าแห่งยุโรป (Common European Sales Law) หรือประมวลว่าด้วยหลักเกี่ยวกับสัญญาทางการค้าระหว่างประเทศ (Principles of International Commercial Contracts) หรือกฎต้นแบบว่าด้วยกฎหมายเอกชนของยุโรป (Draft Common Frame of Reference)

จากการศึกษาหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตีความเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย กรณีข้อความตามเอกสารชัดแจ้งย่อมไม่จำต้องตีความ อย่างไรก็ตามยังมีข้อถกเถียงในประเด็นดังกล่าวอยู่ ต่อมาในกรณีที่ข้อความตามเอกสารไม่ชัดเจน เนื่องจากเจตนาที่แท้จริงไม่ต้องตรงกันหรือไม่สามารถค้นหาเจตนาที่แท้จริงได้ ต้องพิจารณาข้อความที่ปรากฏตามเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานแห่งการทำนิติกรรม เพื่อค้นหาเจตนาของผู้เข้าทำเอกสาร ตามมาตรา 171 โดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร กรณีที่ไม่สามารถกำหนดเจตนาแท้จริงหรือเจตนาร่วมกันได้ ย่อมนำมาตรา 10 ถึงมาตรา 14 มาพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ จากการศึกษาคำพิพากษาของศาลปรากฏแนวทางในการตีความ กรณีมีเอกสารเป็นหลักฐานในการทำนิติกรรม นอกเหนือจากการพิจารณาตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังปรากฏหลักการอื่น ๆ ที่ศาลนำมาวินิจฉัยด้วย ได้แก่ หลักการพิจารณาพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง และหลักการพิจารณาหรือตีความเอกสารในภาพรวม

ในส่วนของหลักการตีความสัญญาในกฎหมายต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงกฎหมายแม่แบบ และกฎต้นแบบ แม้ไม่ปรากฏหลักการตีความเอกสารอย่างชัดเจนเช่นเดียวกับกฎหมายไทย แต่จากการศึกษาพบว่า ในบทบัญญัติอันเกี่ยวด้วยการตีความสัญญา ต่างมีบทบัญญัติที่คล้ายคลึงกับมาตรา 10 ถึงมาตรา 14 เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจจำแนกได้เป็น 4 หลักการ ได้แก่ หลักการตีความไปในทางที่มีผลบังคับได้ (Terms to Be Given Effect) หลักตีความเป็นคุณแก่ผู้ต้องเสียในมูลหนี้ (Interpretation Against the Supplier of Term) หลักความแตกต่างของภาษา (Linguistic Discrepancies) และหลักอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การระบุจำนวนเงินหรือปริมาณเป็นตัวเลขและตัวอักษร การพิจารณาพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง (Surrounding Circumstances) รวมถึงการพิจารณาหรือตีความเอกสารในภาพรวม (Interpretation as a Whole) เป็นต้น

โดยผู้เขียนได้เสนอแนวทางในการตีความเอกสารทั้งสิ้น 5 ประการ ซึ่งเป็นข้อเสนอในการใช้และตีความเอกสารตามบทบัญญัติในปัจจุบัน และเสนอแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายต่างประเทศ และส่งเสริมแนวทางการตีความเอกสารให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กันย์กัญญา ใจการวงค์สกุล, กฎหมายแพ่ง หลักทั่วไป (Civil Law : General Principles), พิมพ์ครั้งที่ 2(กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2564).

กิตติศักดิ์ ปรกติ, การตีความการแสดงเจตนา, (กรุงเทพมหานคร: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา วิชา น.101, 2562).

กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง, นิติกรรม สัญญา และคำมั่น, (กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565).

เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม, หลักการตีความสัญญา, นิตยสารบทบัณฑิตย์, เล่มที่ 72 ตอนที่ 2 (มิถุนายน 2559).

ไชยยศ เหมะรัชตะ, หลักกฎหมายนิติกรรม-สัญญา, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2561).

ณรงค์ วิทยไพศาล, หลักการตีความเอกสาร : เกณฑ์วินิจฉัยกฎหมายเพื่อความเป็นธรรมในสังคม / ลอร์ด เดนนิง, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรศาสตร์, 2535).

ดาราพร ถิระวัฒน์, กฎหมายสัญญา สถานะใหม่ของสัญญาปัจจุบันและปัญหาข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538).

บุญช่วย วณิกกุล (พระยาเทพวิทุร), คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-2 มาตรา 1-240, (พระนคร: สำนักพิมพ์ไทยพิทยา, 2447-8).

ประกอบ หุตะสิงห์, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณการ, 2517).

ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล, กฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป : คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4-14, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2554).

ปรีดี เกษมทรัพย์, อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพรองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ สิงหพันธุ์, (กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท., 2526).

ปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม), บันทึกข้อความสำคัญประกอบด้วยอุทธาหรณ์และคำแนะนำแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1, (พระนคร: สำนักพิมพ์นิติสาส์น, 2471).

ภารวีร์ กษิตินนท์, การใช้หลักสุจริตในการตีความสัญญา, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550).

ภิรมย์พร สุดใจ, การตีความพินัยกรรม, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556).

ศนันท์กรณ์ (จำปี) โสตถิพันธุ์, คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา, พิมพ์ครั้งที่ 24 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2564).

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ตอน 1, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ม.ป.ป.).

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, พจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://dictionary.orst.go.th/

อรุณ ภาณุพงศ์, รวมบทความทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 84 ปีศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์, (กรุงเทพมหานคร: มูลนิธินิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534).

ธนกฤต วรธนัชชากุล และคณะ, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับอ้างอิง บรรพ 1 หลักทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560).

ธานินทร์ กรัยวิเชียร และวิชา มหาคุณ, การตีความกฎหมาย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ชวนพิมพ์, 2523).

Ahmet Cemil Yildirim, Interpretation of Contracts in comparative and Uniform law, (The Netherlands: Wolters Kluwer, 2019).

C.H. Beck Hart Nomos, Common European Sales Law (CESL): Commentary, Reiner Schulze ed. (München: Hart Publishing, 2012).

Christian von Bar and Eric Clive, Principles, Definitions and Model Rules of European Private Law, Draft Common Frame of Reference prepared by the Study Group on a European Civil Code and the Research Group on EC Private Law (Acquis Group), (New York: Oxford University Press, 2010).

Kim Lewison, The Interpretation of Contracts, (London: Sweet & Maxwell, 1989).

Sir William R. Anson, Principles of the English Law of Contract and of Agency in its relation to contract, (Clarendon Press, 1959).

Elias E. Savollos, Galvin and Richard F., Reasoning and the Law: The Elements, (Belmont, Calif.: Wadsaorth, 2001).

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, พจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://dictionary.orst.go.th/

Luigi BERLINGUER and Klaus-Heiner LEHNE, COMMON EUROPEAN SALES LAW (CESL) [Online], Source: https://www.europarl.europa.eu/legislative-train/theme-connected-digital-single-market/file-common-european-sales-law/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.01.2023

How to Cite

วสันตยานันท์ อรุณี. 2023. “การตีความเอกสาร”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 6 (1):61-109. https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.2.