ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ต่อพฤติกรรมการขายสินค้าแบบรวมขาย
DOI:
https://doi.org/10.14456/mfulj.2019.11คำสำคัญ:
การขายสินค้าแบบรวมขาย, หลักเกณฑ์การพิจารณาการรวมขาย, การแข่งขันทางการค้าบทคัดย่อ
ปัจจุบัน ผู้ประกอบธุรกิจได้มีการนำกลยุทธ์การขายสินค้าแบบรวมขาย (Bundling) มาใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งการขายสินค้าแบบรวมขายมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติด้านราคาอย่างหนึ่งที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสวัสดิการของผู้บริโภคและการแข่งขันในตลาดได้ทั้งในแง่ดีและแง่ร้าย อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 และประกาศของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าก็ไม่ได้วางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความรับผิดของพฤติกรรมการขายสินค้าแบบรวมขายไว้อย่างชัดเจนแต่อย่างใด อีกทั้งประเทศไทยก็ไม่เคยปรากฏคำวินิจฉัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการขายสินค้าแบบรวมขายมาก่อน บทความนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมการขายสินค้าแบบรวมขายที่ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อการแข่งขันในตลาดอันเป็นความผิดต่อกฎหมายการแข่งขันทางการค้า โดยศึกษาจากกฎหมาย คำพิพากษาและแนวปฏิบัติของต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งจากการศึกษาพบว่า แนวทางการพิจารณาความรับผิดทางกฎหมายของทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปต่างมองว่าพฤติกรรมการขายสินค้าแบบรวมขายไม่ใช่การกระทำที่ผิดกฎหมายเช่นเดียวกับการขายพ่วงสินค้า (Tie-in) แต่การจะพิจารณาความรับผิดทางกฎหมายของพฤติกรรมดังกล่าวจะต้องอาศัยการพิจารณาจากต้นทุน ราคาสินค้า และผลกระทบจากการกระทำดังกล่าว บทความนี้จึงเสนอให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ากำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความรับผิดของพฤติกรรมการขายสินค้าแบบรวมขายที่ชัดเจนไว้ในประกาศของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าต่อไป
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.