ความแตกต่างในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในอาเซียน

ผู้แต่ง

  • อัจฉริยา วงษ์บูรณาวาทย์ อาจารย์ประจำสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2019.16

คำสำคัญ:

ทรัพย์สินทางปัญญา, อาเซียน, ช่องว่างของการพัฒนา, ความแตกต่าง, การคุ้มครอง

บทคัดย่อ

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากอันเนื่องมาจากภูมิหลังและประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย โดยการมีระดับการพัฒนาประเทศที่แตกต่างกันนั้น สามารถจัดกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ทั้งนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการที่เหล่าประเทศสมาชิกอาเซียนมีการพัฒนาในระดับที่แตกต่างกันนั้นมีความสัมพันธ์กับมาตรฐานในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ประเทศ กล่าวคือ ประเทศที่มีการพัฒนาในระดับสูงมีแนวโน้มที่จะให้ความคุ้มครองและมีการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเข้มงวด ในขณะที่ประเทศที่มีระดับการพัฒนาน้อยกว่ามักจะมีการคุ้มครองและการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่อ่อนแอกว่า ดังนั้นการลดช่องว่างในระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนจะช่วยประสานผลประโยชน์ในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและทำให้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของเหล่าประเทศสมาชิกมีความสอดคล้องต้องกัน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความแตกต่างในระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน ความไม่เท่าเทียมกันในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในอาเซียน รวมถึงข้อสังเกตที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.07.2019

How to Cite

วงษ์บูรณาวาทย์ อัจฉริยา. 2019. “ความแตกต่างในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในอาเซียน”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2 (2):133-44. https://doi.org/10.14456/mfulj.2019.16.