ความสอดคล้องต้องกันของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในอาเซียน

ผู้แต่ง

  • อัจฉริยา วงษ์บูรณาวาทย์ อาจารย์ประจำสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2018.21

คำสำคัญ:

อาเซียน, ทรัพย์สินทางปัญญา, ความสอดคล้องต้องกัน, ตลาดเดียว

บทคัดย่อ

หนึ่งในเป้าหมายหลักที่สำคัญของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) คือการจัดตั้งตลาดเดียวอาเซียนที่มีการหมุนเวียนของสินค้า บริการ เงินทุน และแรงงานอย่างเสรีภายในประชาคม อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้าต่าง ๆ จะสามารถเคลื่อนย้ายภายในประชาคมได้อย่างเสรีจำเป็นจะต้องมีการขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นอุปสรรคทางการค้าด้านภาษีและอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีออกไป ซึ่งในปัจจุบันอาเซียนมีความก้าวหน้าอย่างมากในการลดอัตราภาษีศุลกากรของสินค้าระหว่างกันให้เป็นศูนย์ ในขณะที่การขจัดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษียังคงมีความท้าทายอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุปสรรคที่เกิดจากความแตกต่างทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนั้น เพื่อให้อาเซียนมีการจัดตั้งตลาดเดียวที่มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องมีการทำให้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศสมาชิกมีความสอดคล้องต้องกัน บทความนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอแนวคิดที่สำคัญ ความท้าทายต่าง ๆ ของหลักการความสอดคล้องต้องกันของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงข้อสังเกตที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องเพื่อการศึกษาภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.07.2018

How to Cite

วงษ์บูรณาวาทย์ อัจฉริยา. 2018. “ความสอดคล้องต้องกันของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในอาเซียน”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1 (2):99-110. https://doi.org/10.14456/mfulj.2018.21.