การบังคับใช้กฎหมายอาญา: แนวคิดและวิธีปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2018.23

คำสำคัญ:

กฎหมายอาญา, การกำหนดความผิดอาญา, การตีความกฎหมายอาญา, การปล่อยชั่วคราว, การคุ้มครองสิทธิ, วัฒนธรรมการเคารพกฎหมาย

บทคัดย่อ

ปาฐกถานี้นำเสนอใน 3 ประเด็นคือ

การกำหนดให้การกระทำเป็นความผิดอาญา: ประเทศไทยมีกฎหมายที่กำหนดความผิดอาญาไว้ทั้งในประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติอีกกว่า 500 ฉบับ ความผิดบางอย่างก็มีความซ้ำซ้อนกันทำให้เกิดปัญหาเรื่องชาวบ้านไม่รู้กฎหมาย หรือการเข้าถึงกฎหมาย ทำให้บางกรณีมีผู้กระทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ปัญหาคือเราจะรณรงค์อย่างไรให้คนรู้กฎหมาย หรือจะทำอย่างไรให้กฎหมายลดปริมาณลงบ้าง โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 ก็บัญญัติให้รัฐดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่าย นอกจากนั้น เราควรรณรงค์ให้ผู้คนปฏิบัติตามกฎหมายพื้นฐานต่าง ๆ ด้วยโดยควรมีการเสริมสร้าง “วัฒนธรรมการเคารพกฎหมาย” หรือ Culture of Lawfulness ตามที่กำหนดไว้ใน UN Sustainable Development Goals (Goal 16) และควรยกเลิกกฎหมายที่ไม่จำเป็นลงบ้างหรือไม่ เช่น ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

การใช้ และการตีความกฎหมายอาญา: การบัญญัติกฎหมายอาญานั้นแม้ผู้ร่างกฎหมายจะพยายามอย่างยิ่งให้มีความชัดเจนแน่นอนเพียงใดก็ตาม แต่การบังคับใช้กฎหมายนั้นยังขึ้นอยู่กับผู้บังคับใช้กฎหมายที่จะใช้ หรือตีความกฎหมายอาญาอีกด้วย ซึ่งโดยหลักการแล้วการใช้ และการตีความกฎหมายอาญา จะมีความแตกต่างจากการใช้ และการตีความกฎหมายแพ่ง กล่าวคือ กฎหมายอาญาจะต้องใช้และตีความอย่างเคร่งครัด ในขณะที่กฎหมายแพ่งมีความแตกต่างออกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ที่สามารถนำจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น หรือการเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง หรือนำหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้ได้

การคุ้มครองสิทธิในการดำเนินคดีอาญา: การนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษนี้มีพัฒนาในทางที่เป็นเสรีนิยม (Liberalism) เน้นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน (Human Rights) มากขึ้น ทั้งนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ถือเป็นการปฏิรูปแนวคิดในกระบวนการยุติธรรมครั้งใหญ่และมีผลให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และประเทศไทยก็มีพัฒนาการในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งเป็นการเน้นการแก้ไขกฎหมาย หรือ Legal Modernization เป็นส่วนใหญ่ แต่ยังขาดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เช่น เรื่อง “การปล่อยชั่วคราว” ในทางปฏิบัติของไทยแล้วเน้นการควบคุม หรือขังระหว่างการดำเนินคดีกลายเป็นหลัก หากต้องการให้มีการปล่อยชั่วคราวจะต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำประกัน เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.07.2018

How to Cite

ลิขสิทธิ์วัฒนกุล สุรศักดิ์. 2018. “การบังคับใช้กฎหมายอาญา: แนวคิดและวิธีปฏิบัติ”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1 (2):117-26. https://doi.org/10.14456/mfulj.2018.23.