กลไกและกระบวนการดำเนินการทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย

ผู้แต่ง

  • ธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ อดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2018.4

คำสำคัญ:

กลไกและกระบวนการ, การดำเนินการทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย, พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539, พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

บทคัดย่อ

เพื่อให้การกระทำทางปกครองใด ๆ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่ผู้กระทำการนั้น ๆ จะต้องยึดหลักการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ประกอบกับกฎหมายเฉพาะ คือต้องคำนึงถึงเงื่อนไขแห่งการกระทำ อันได้แก่ อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ขอบเขตแห่งการกระทำ ตลอดจนการแจ้งสิทธิต่าง ๆ แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมไปถึงกรอบเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น ซึ่งจะเป็นหลักประกันที่ดีในระดับหนึ่งว่า การกระทำทางปกครองใด ๆ ที่ได้กระทำลงไปแล้วเป็นการกระทำทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ เงื่อนไขประการสำคัญที่สุดของการกระทำทางปกครองคือการที่จะต้องคำนึงถึงความถูกต้องและความชอบธรรม ตลอดจนความพร้อมของ ตัวเจ้าหน้าที่ที่อาจจะถูกติดตาม ตรวจสอบ หรือสอบสวน ในกรณีที่มีผู้ร้องเรียนกล่าวหา หรือเป็นคู่กรณีในคดีที่มีการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.01.2018

How to Cite

หล่อเลิศรัตน์ ธีรยุทธ์. 2018. “กลไกและกระบวนการดำเนินการทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1 (1):47-56. https://doi.org/10.14456/mfulj.2018.4.