กฎหมายอวกาศและการดำเนินการเมื่อได้รับความเสียหายจากวัตถุอวกาศตกลงบนพื้นผิวโลกและหรือห้วงอากาศ: กรณีศึกษาการตกของสถานีอวกาศเทียนกง-1

ผู้แต่ง

  • ชูเกียรติ น้อยฉิม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2018.7

คำสำคัญ:

กฎหมายอวกาศ, วัตถุอวกา, ความเสียหาย, พื้นผิวโลกหรือห้วงอากาศ

บทคัดย่อ

วัตถุอวกาศที่ตกลงบนพื้นผิวโลกและหรือห้วงอากาศนั้นพบว่าวัตถุอวกาศส่วนใหญ่ที่ตกนั้นจะเป็นขยะอวกาศที่เกิดมาจากชิ้นส่วนของตัวดาวเทียมและจรวดนำส่งวัตถุอวกาศ แต่ที่จะไม่ได้พบบ่อยคือ การตกของสถานีอวกาศ สำหรับการปรับใช้กฎหมายอวกาศกับกรณีความเสียหายจากวัตถุอวกาศนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 กรณี โดยพิจารณาจากการที่รัฐผู้ส่งและหรือรัฐที่เป็นเจ้าของวัตถุอวกาศกับรัฐที่ได้รับความเสียหายจากวัตถุอวกาศนั้นได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกของความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับอวกาศของสหประชาชาติ (สนธิสัญญาอวกาศ ค.ศ. 1967 และอนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดระหว่างประเทศต่อความเสียหายที่เกิดจากวัตถุอวกาศ ค.ศ. 1972) หรือไม่ รวมถึงประเด็นความรับผิดระหว่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีนกรณีความเสียหายจากวัตถุอวกาศของตน ถ้าหากสถานีอวกาศเทียนกง-1 ตกลงบนดินแดนของประเทศไทยและก่อให้เกิดความเสียหาย และจากเหตุการณ์การตกของสถานีอวกาศเทียนกง-1 ครั้งนี้ ทำให้ประเทศไทยควรที่จะพิจารณาเกี่ยวกับการเข้าเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดระหว่างประเทศต่อความเสียหายที่เกิดจากวัตถุอวกาศ ค.ศ. 1972 เนื่องจากจะช่วยคุ้มครองผลประโยชน์ของประเทศไทยและคนชาติไทยจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวัตถุอวกาศ เพราะว่ากิจกรรมอวกาศนั้นมีความเสี่ยงภัยค่อนข้างสูงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมวลมนุษยชาติได้

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.01.2018

How to Cite

น้อยฉิม ชูเกียรติ. 2018. “กฎหมายอวกาศและการดำเนินการเมื่อได้รับความเสียหายจากวัตถุอวกาศตกลงบนพื้นผิวโลกและหรือห้วงอากาศ: กรณีศึกษาการตกของสถานีอวกาศเทียนกง-1”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1 (1):115-38. https://doi.org/10.14456/mfulj.2018.7.