จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมการเขียนบทความตีพิมพ์
วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์

บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งตีพิมพ์เป็นบทความใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด

  1. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
  2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นและต้องอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาเสนอโดยอ้างอิงในเนื้อหาบทความของตน และจัดทำเอกสารอ้างอิงไว้ท้ายบทความให้ชัดเจน
  3. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อมูลการวิจัยที่เกิดขึ้นจริง ไม่บิดเบือนข้อมูล และไม่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  4. ผู้นิพนธ์ที่มีรายชื่อปรากฎในบทความ ต้องมีส่วนในการทำ การวิจัยจริง
  5. ผู้นิพนธ์ที่คัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) หรือละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน
  6. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารถือเป็นผลงานของผู้นิพนธ์ ผู้นิพนธ์และคณะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
  7. ผู้นิพนธ์ต้องแก้ไขความถูกต้องของบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินเบื้องต้นในการตรวจรูปแบบและหลักการอ้างอิงตามที่วารสารกำหนด และแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่พิจารณาคุณภาพของบทความ
  8. ในกรณีที่ผู้เขียนทำผิดจริยธรรมจะถูกตัดสิทธิ์การตีพิมพ์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี โดยแจ้งผู้นิพนธ์และหน่วยงานสังกัดของผู้นิพนธ์
  9. การพิจารณาอนุญาตให้ลงตีพิมพ์ในวารสารขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากบรรณาธิการและให้ถือเป็นที่สิ้นสุด
  10. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์ ควรมีหนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี)

   บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)

  1. บรรณาธิการมีหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารงานวารสารเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามหลักเกณฑ์ที่วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์กำหนด
  2. ดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ และพัฒนาคุณภาพของวารสารอย่างต่อเนื่อง และให้เป็นไปตามขอบเขตและวัตถุประสงค์ของวารสาร
  3. ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ เพื่อให้กระบวนการประเมินบทความนั้นมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นและเป็นไปตามเกณฑ์ของวารสาร
  4. บรรณาธิการไม่ใช้อำนาจหรือหน้าที่ครอบงำ ผู้ประเมินบทความให้ประเมินบทความตามที่ตนเองต้องการ
  5. บรรณาธิการต้องเลือกผู้ประเมินบทความที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญตรงกับบทความนั้นๆ
  6. บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมินบทความหากเกิดการคัดลอกผลงานผู้อื่น และต้องแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบทันที หากเจ้าของบทความไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ บรรณาธิการสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้นๆ
  7. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน ผู้ประเมิน และต้องมีความรับผิดชอบในการรักษาข้อมูลได้เป็นอย่างดี
  8. บรรณาธิการต้องไม่ร้องขอให้มีการอ้างอิงผลงานใดเพื่อเพิ่มจำ นวนการอ้างอิง (Citation) หรือ ค่า Impact Factor ของวารสาร หรือเพื่อเพิ่มจำ นวนการอ้างอิงของผลงานของตนหรือพวกพ้อง
  9. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว โดยต้องมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง และใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้เช่น โปรแกรม CopyCat เว็บไซต์ ThaijO ในระดับไม่เกิน 10% เพื่อให้แน่ใจว่า บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และหากตรวจพบ การคัดลอกผลงานของผู้อื่น เกินตามที่กำหนดไว้ จะต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้เขียนบทความหลักทันที เพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ
  10. บรรณาธิการจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน และผู้ประเมิน โดยเด็ดขาด เพื่อรักษาไว้ซึ่งธรรมาภิบาลในการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด
  11. บรรณาธิการต้องไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความไปเป็นผลงานของตนเอง
  12. บทความที่ตรวจพบว่า มีการลอกเลียนบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล ซึ่งสมควรถูกถอดถอน แต่ผู้เขียนปฏิเสธที่จะถอนบทความ บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอดถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการ
  13. บรรณาธิการต้องกำกับติดตามดูแล การเก็บค่า Page Charge หรือ Processing Fee คือ ต้องมีการดำเนินการอย่างโปร่งใส เช่น กำหนดให้มีการประกาศกระบวนการเรียกเก็บอย่างชัดเจน หรือ ระบุราคาหรือเงื่อนไขของการเรียกเก็บค่า Page Charge ตามที่ได้ประกาศไว้อย่างเคร่งครัด

บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

  1. ผู้ประเมินบทความต้องมีความรู้ ความเข้าใจและเชี่ยวชาญในเนื้อหาของบทความที่ประเมิน หากบทความไม่ตรงกับสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญผู้ประเมินสามารถปฏิเสธที่จะประเมินบทความเรื่องนั้นให้ผู้ประสานงานของกองบรรณาธิการทราบ
  2. ผู้ประเมินบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพของบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติ หรือความคิดเห็นส่วนตัว และเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์
  3. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความตามแบบประเมิน และหากมีข้อเสนอแนะนอกเหนือประเด็นตามแบบประเมินก็สามารถเสนอเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน
  4. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับวารสาร บรรณาธิการ และผู้เขียน ซึ่งหากบรรณาธิการทราบในภายหลังจะขอยกเลิกผลการประเมินนั้น และทางวารสารจะสงวนสิทธิ์ไม่ส่งบทความให้ประเมินในครั้งต่อไป
  5. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความตามกรอบระยะเวลาที่วารสารกำหนด
  6. ผู้ประเมินบทความต้องไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ประเมินไปเป็นผลงานของตนเอง
  7. ผู้ประเมินบทความควรให้ข้อเสนอแนะที่สอดคล้องและเป็นประโยชน์แก่ผู้เขียนบทความ
  8. ผู้ประเมินบทความจะต้องรักษาความลับ ไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
  9. ผู้ประเมินบทความที่ตรวจพบว่าบทความที่พิจารณาอยู่มีความเหมือนหรือความซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่น ผู้ประเมินจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ