ปัญหาในการจัดการซากผลิตภัณฑ์แผงโซล่าเซลล์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศฤงคาร คล้ายแขก

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดการซากผลิตภัณฑ์แผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งานและไม่ได้ใช้งานในประเทศไทย ซึ่งมียอดสะสมจะหมดอายุการใช้งาน ประมาณ 6.2-7.9 แสนตัน เป็นการศึกษาตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์แผงโซล่าเซลล์ ด้วยมาตรการต่าง ๆ ทั้งทางด้านกฎระเบียบและกฎหมาย ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนใช้หลักแนวคิดโลจิสติกส์ย้อนกลับมาสนับสนุนการจัดการ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

          ผลการวิเคราะห์ พบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์แผงโซล่าเซลล์ สอดคล้องไปกับแนวคิดโลจิสติกส์ย้อนกลับ ตั้งแต่การสกัดได้มาซึ่งวัตถุดิบ แปรรูป การขนส่ง การติดตั้ง การใช้งาน การซ่อมแซม การนำกลับมาใช้ใหม่ การรื้อถอน การรีไซเคิล การคืนสภาพ การบำบัด และการกำจัด ขณะที่ มาตรการทางด้านกฎระเบียบและกฎหมาย พบว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดำเนินการด้วยความสมัครใจ แต่บางส่วนยังมีการดำเนินการที่ไม่เหมาะสม โรงงานรีไซเคิลยังขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำทรัพยากรที่มีค่านำกลับมาใช้ใหม่ บางส่วนมีการทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป ไม่ทันต่อเวลา มีปริมาณเพิ่มขึ้น การกำจัดด้วยการฝังกลบเพียงอย่างเดียวยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ไม่เป็นการเชื่อม โยงกับเป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพราะซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่ผ่านกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับจะได้วัสดุที่มีค่า เช่น ทองคำ เหล็กทองแดง และอลูมิเนียม ซึ่งสร้างรายได้ สร้างงานและลดปัญหาทางสังคม ส่วนเศษซากที่เหลือก็จะนำไปบำบัดและกำจัด ด้วยการเผาในเตาเผาปูนซีเมนต์ที่มีอุณหภูมิสูงและต้องฝังกลบอย่างปลอดภัย เพื่อลดกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ แต่ก็มีข้อจำกัดด้านพื้นที่และปริมาณหลุมฝังกลบที่ได้มาตรฐาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27