การศึกษาการรับรู้และการมีส่วนร่วมของนักศึกษาภายใต้โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กรณีศึกษา การเรียนการสอนรายวิชาโลกกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (4400010)

ผู้แต่ง

  • สุรีรัตน์ เทมวรรธน์ -

คำสำคัญ:

การรับรู้และการมีส่วนร่วม, มหาวิทยาลัยสีเขียว, กิจกรรมที่บูรณาการกับการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้และการมีส่วนร่วมของนักศึกษาภายใต้โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวผ่านรูปแบบกิจกรรมที่บูรณาการกับการเรียนการสอน และ (2) สังเคราะห์แนวทางการ บูรณาการกับการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับนโยบายโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวนั้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ชั้นปีที่ 1 จำนวน 28 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาโลกกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (4400010) ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามการรับรู้และการมีส่วนร่วมของนักศึกษาภายใต้โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมที่บูรณาการกับการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาสังเคราะห์แนวทางการบูรณาการกับการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับนโยบายโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว

ผลการประเมินการรับรู้ของนักศึกษาเฉลี่ยรวมในทุกประเด็นอยู่ในระดับการรับรู้มาก ผลการประเมินการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในแต่ละด้านได้แก่ ด้านการจัดการพลังงาน ด้านการจัดการน้ำ ด้านการจัดการของเสีย และด้านการคมนาคมขนส่ง มีคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับการมีส่วนร่วมมาก ผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมที่บูรณาการกับการเรียนการสอน มี คะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก จากการสังเคราะห์พบว่า แนวทางการบูรณาการกิจกรรมกับการเรียนการสอน โดยเรียงลำดับสาระสำคัญของกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาปฏิบัติ เริ่มจากให้รู้ถึงแนวคิดและที่มาของประเด็นดังกล่าวก่อน จากนั้นให้สืบค้นตัวอย่างที่ผ่านมาทั้งในและต่างประเทศเพื่อนำตัวอย่างเหล่านั้นมาร่วมกันวิพากย์ในชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษามีข้อมูลสำหรับในการออกแบบรูปแบบและแนวทางปฏิบัติตามความคิดของนักศึกษา

References

กลุ่มงานสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2562). Road Map to PBRU Green and Clean

University แนวทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเขียวสะอาด ด้วยมาตรการ 2R 3G 4L (สองอาร์ สามจี สี่แอล). https://www.pbru.ac.th/GreenU/project/project8.html

จักเรศ เมตตะธำรงค์. (2559). การมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยสีเขียว)

กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. http://www.thaiedresearch.org/index.php/home/paperview/141/?topicid=4

นิชดา สารถวัลย์แพศย์ สุดารัตน์ วันงามวิเศษ และวลีรัตน์ แตรตุลาการ. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการ

อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรม-ราชชนนีจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(1), 32-42.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). บริษัท สุริวินาสาส์น จำกัด.

ปิยะมาศ สามสุวรรณ และ สมทิพย์ ด่านธีรวนิชย์ (2555). การมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2555 (หน้า 148-149). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย

วชิรวัชร งามละม่อม. (2559). ทฤษฎีการมีส่วนร่วม. http://learningofpublic.blogspot.com/2016/02/blog-post_79.html

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสาหรับการวิจัย: มายาคติใน การใช้สูตรของทาโร ยามาเน และเครจซี-มอร์แกน. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/243621

สุภณิดา ปุสุรินทร์คำ. (2551). หลักการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

Schools for Future Youth. (2014). Participatory Learning Methods. https://sfyouth.eu/

images/toolkit/global_citizenship_education/ParticipatoryLearningMethods.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30