ผู้ไท: กลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมอีสาน

ผู้แต่ง

  • พระณัฐวุฒิ พันทะลี หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

คำสำคัญ:

ผู้ไท, กลุ่มชาติพันธุ์, สังคมอีสาน, ความเชื่อ, ประเพณีและวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานของประเทศไทยว่ามีประวัติศาสตร์ความเป็นมา รูปแบบวิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และภูมิปัญญา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเป็นอย่างไร

ผลการวิเคราะห์ พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทมีวิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณี ความเชื่อ ภาษา และภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม มีบรรพบุรุษอยู่แถบสิบสองจุไทพื้นที่บริเวณแถบนี้เป็นป่าเขาไม่อุดมสมบูรณ์นัก รวมทั้งยังเป็นดินแดนคาบเกี่ยวอยู่ในการปกครองถึง 3 ฝ่าย คือ จีน หลวงพระบาง และญวน เมื่อเกิดศึกสงครามเกิดขึ้น การยกทัพจะต้องผ่านดินแดนสิบสองจุไท ทำให้ชาวผู้ไทต้องพลอยเดือนร้อนอยู่เสมอ ชาวผู้ไทเป็นกลุ่มชนที่รักความสงบจึงพากันอพยพลงมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเมืองวัง เมืองคำเกิด และเมืองคำม่วนในประเทศลาว ต่อมาได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงรับสั่งให้แม่ทัพไปปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์และเมื่อปราบกบฏเสร็จเรียบร้อยแล้ว กองทัพได้กวาดต้อนชาวผู้ไทในประเทศลาว ข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ฝั่งประเทศไทยทางภาคอีสานในเขตจังหวัดสกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร ถึงแม้ชาวผู้ไทจะถูกกวาดต้อนมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนใหม่ แต่ ชาวผู้ไทก็ยังคงมีการสืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมที่โดดเด่นเฉพาะกลุ่มอยู่ เช่น การแต่งกาย ความเชื่อ ภาษาและภูมิปัญญาของตนเอง

References

เกรียงไกร หัวบุญศาล. (2554). ภูไทหรือผู้ไท: ชนเผ่าไทยแห่งสิบสองจุไทในประเทศไทย. ค้นจาก https://www.oknation.net/post/detail/634f46ddd2cac986f524de41

จิตรกร โพธิ์งาม. (2536). โลกทัศน์ของซาวบรู บ้านเวิกบึก อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ไทยคดีศึกษา), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ และอัครยา สังข์จันทร์. (2546). การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้เบื้องต้นจากงานวิจัยเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสาน พ.ศ. 2500-2545. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

นวรัตน์ บุญภิละ. (2559). อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวผู้ไท กรณีศึกษา บ้านนายูง ตำบลนายูง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี. วารสารพื้นถิ่นโขง ชี มูล, 2(2), 137-156.

ประตูสู่อีสาน. (2558). ชนเผ่าภูไท. ค้นจาก https://www.isangate.com/new/11-paothai/137-paothaipoothai.html

ปุณชญา ศิวานิพัทน์ และราชันย์ นิลวรรณาภา. (2562). โครงสร้างที่มาและความหมายของคำเรียกชาติพันธุ์ในอีสาน. ดำรงวิชาการ, 18(2), 61-94.

พชร สุวรรณภาชน์. (2544). โลกทัศน์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย: เพลงโคราช. มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท.

ภัททิยา ยิมเรวัต. (2544). ประวัติศาสตร์สิบสองจุไท. สร้างสรรค์.

ยุทธนา การแช. (2560). ความเชื่อของชาวผู้ไท. ค้นจาก https://sites.google.com/site/prayfakalasin007/02-raks/s-prapheni-sakhay

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2566). กลุ่มชาติพันธุ์: ภูไท. ค้นจากhttps://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/81

สำนักงานศิลปวัฒนธรรม. (2560). พิธีเหยาของชาวผู้ไท. ค้นจาก https://www.silpa-mag.com/history/article_13717

สิริยาพร สาลีพันธ์. (2554). บทบาทศูนย์วัฒนธรรมบ้านภูไทในการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมภูไทเรณูนคร ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วัฒนธรรมศึกษา), มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุเนตร ศรีหาคลัง, จิรโชค วีระสย, รังสรรค์สิงหเลิศ และบุญสม ยอดมาลี. (2562). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม: ภาษาและการแต่งกายของชาวภูไทเรณูนครในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 9(3), 705-715.

อภิวุฒิ แก้วทรง. (2561). วัฒนธรรมและประเพณีของชาวภูไท. ค้นจาก http://en.npu.ac.th/wisdom/?p=109

อมรา พงศาพิชญ์. (2547). มนุษย์กับวัฒนธรรมในสังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 9). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2536). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม: แนวทางศึกษาวิเคราะห์และวางแผน. คลังนานาวิทยา.

สุริยา สมุทคุปติ์ และพัฒนา กิติอาษา. (2544). ยวนสีคิ้วในชุมชนทางชาติพันธุ์: เรื่องเล่าความทรงจำและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนในจังหวัดนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม.

Damrongsakul, S. (2011). The role of traditional rituals in cultural maintenance and tourism in a Phu Tai village. Journal of Mekong Societies, 7(1), 73-98.

Keyes, C. F. (1979). Ethnic adaptation and identity: the Karen on the Thai frontier with Burma. Philadelphia: Institute for the Study of Human Issues.

Rattanapetch, W., Yodmalee, B., & Paengsoi, K. (2012). Adaptive models of folk masseurs to Isan social change. Editorial Advisory Board, 31(1), 121-124.

Saenprai, N., Mangkhang, C., Kerdtep, A., & Phuwanatwichit, T. (2022). Moon Mang Phutai: Textile wisdom of Phutai ethnicity in the Sakon Nakhon Basin area to cultural tourism. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 6(1), 33-46.

Suwannapruk, M., Langkulanont, B., Kahaban, N., Sridakeaw, N., & Dononbao, A. (2022). Survey and recommendations for utilization on vernacular houses of the Phu-Tai Ethnic Group in Kalasin province. Asian Journal of Traditional and Innovative Arts and Textiles, 1(3), 57-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28