การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเฉพาะความพิการบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ หมื่นพันธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชนมณี ศิลานุกิจ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม, ผู้บริหารสถานศึกษา, โรงเรียนเฉพาะความพิการบกพร่องทางสติปัญญา, สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเฉพาะความพิการบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครู จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ (1) การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเฉพาะความพิการบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) ข้าราชการครูที่มีเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีทัศนะต่อการบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเฉพาะความพิการบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

References

กังสดาล เชาว์วัฒนกุล. (2556). พัฒนาการทางแนวคิดทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในบริบทของศาสตร์ต่าง ๆ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 39(1), 24-36.

เทียนชัย นาคแผ่น. (2561). ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประทีป ทับโทน. (2563). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดเทศบาล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ประเสริฐ ทองบริสุทธิ์. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ปัญญาทร หวังชูธรรม. (2559). การประเมินผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภิรมย์ ลี้กุล. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ยศสราวดี กรึงไกร. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีรศักดิ์ จันทะสงคราม. (2549). การรับรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

องอาจ แสนมาโนช. (2558). ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). การวิจัยทางการศึกษา แนวคิดและการประยุกต์ใช้. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bovee, C. L., Thill, J. V., Wood, M. B., & Dovel, G. P. (1993). Management. McGrow-Hill.

Carroll, A. B. (1991). The Pyramid of corporate social responsibility: Toward the moral management of organization stakeholders. Business Horizons, 34(4), 39-48.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th ed.). Routledge.

International Organization for Standardization. (2010). ISO 26000: Guidance on social Responsibility International Standard. Author.

Post, J. E., Lawrence, A. T., & Water, J. (2005). Business and society: Corporate strategy, public policy, ethics. McGraw-Hill/Irwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28