ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของบุคลากรสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

ผู้แต่ง

  • วนิดา สมศรี หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ลดาวัลย์ ยมจินดา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ, ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการวางแผนและการปฏิบัติตามแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของบุคลากรสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของบุคลากรสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (3) ศึกษาความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของบุคลากรสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (4) ศึกษาปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของบุคลากรสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประชากรที่ศึกษาคือบุคลากรสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน ที่ระดับค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 178 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, ONE- WAY ANOVA และ Multiple Linear Regression Analysis

ผลการศึกษา พบว่า (1) การวางแผนและการปฏิบัติตามแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณในภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.95) (2) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลทุกด้านส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐาน (3) ความสำคัญของปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.80) และ (4)ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐานโดยส่งผลเชิงบวกมาก (R = .800) และมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 64.0

References

ขวัญดาว กล่ำรัตน์. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุรฉัตร จันทร์แดง, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสัญญา เคณาภูมิ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรม. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(4), 235-244

ธัญวรัตน์ สุวรรณะ. (2564). การเตรียมความพร้อมทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของแรงงานนอกระบบ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 58-72.

วิมลพร สมัครเขตรการ และปัญญา ศรีสิงห์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการออมเพื่อความมั่นคงตอนเกษียณอายุ: กรณีศึกษาลูกค้าธนาคารยูโอบี สาขาถนนศรีวรา. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 567-581.

วิกิพีเดีย. (2565). สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (ประเทศไทย). ค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน_(ประเทศไทย)

สยาม เกิดจรัส. (2561). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณ กรณีศึกษา ชุมชนการเคหะท่าทรายกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศศินันท์ ศาสตร์สาระ. (2563). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (หน้า 1220-1227). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิ และลดารัตน์ ศรรักษ์. (2554). การวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ. ค้นจาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/april_june_11/pdf/aw31.pdf

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และศุภร เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. ธรรมสาร.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2556. ผู้แต่ง.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557). การบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคลหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ”ติดเข็มทิศชีวิตการเงินแก่ครู”. ค้นจาก https://www.1213.or.th/th/aboutfcc/Documents/compass57.pdf

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). หลักสูตรการวางแผนการเงินชุดที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณอายุ. ค้นจาก https://weblink.set.or.th/dat/setbooks/e-book/91.pdf

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.). Harper & Row.

Yamane, T. (1967). Statistics, an introductory analysis (2nd ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28