ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 กับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

ผู้แต่ง

  • วิภาวรรณ ประทุมวัน -

คำสำคัญ:

บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการศึกษาบทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 กับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายบทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพบว่าครูมีบทบาทในการจัดการเรียนรู้โดยการเป็นโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ประกอบด้วยบทบาท 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างความยึดมั่นผูกพัน (Engage) การเสริมพลังการเรียนรู้ (Empower) และการสร้างความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ (Enliven)  ครูผู้สอนต้องออกแบบกิจกรรมที่สะท้อนการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ และเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง ซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning

Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้คิดและลงมือทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านการเขียน การพูด การฟัง การอ่าน และการอภิปรายสะท้อนความคิดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อสร้างองค์ความรู้มากกว่าการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้รับเพียงฝ่ายเดียว โดยมีลักษณะสำคัญคือส่งเสริมทางด้านความคิด มีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง  สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความร่วมมือ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน มีการสร้างองค์ความรู้ผ่านการใช้กิจกรรมที่ครูจัดเตรียมไว้ให้อย่างหลากหลาย การจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยการนำเอาวิธีการสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้นำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาหรือประกอบอาชีพในอนาคต และถือเป็นการจัดการเรียนรู้ประเภทหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน

References

จิรกิตติ์ เนาวพงศ์รัตน์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สุขศึกษาและพลศึกษา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. ข่าวสารวิชาการคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.ประจำเดือนพฤศจิกายน 2553.

ดุษฎี โยเหลา. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. หจก. ทิพยวิสุทธิ์.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพบูลย์ เปานิล. (2546). เอกสารประกอบการอบรม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. สถาบันราชภัฏจันทรเกษม. ถ่ายเอกสาร.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้ในยุค Disruptive Innovation. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. https://cbethailand.com/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30