การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สัตว์และประเภทของสัตว์ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ญาณภัทร์ รักสาย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • วีรวัฒน์ จันทรัตนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

บทเรียนสำเร็จรูป, ทักษะการจำแนกประเภท, พฤติกรรมใฝ่เรียนรู้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สัตว์และประเภทของสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ประเมินทักษะการจำแนกประเภท หลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สัตว์และประเภทของสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์              3) ประเมินพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล     หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 ห้องเรียน รวม 169 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวนนักเรียน 43 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม

ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สัตว์และประเภทของสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.21 (S.D. =1.42) หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.33 (S.D. =0.64) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          2) ผลการประเมินทักษะการจำแนกประเภท หลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สัตว์และประเภทของสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า  มีคะแนนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (X) เท่ากับ 9.33 (S.D. = 2.91) จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 3) ผลการประเมินพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (X) = 4.79 (S.D. = 0.43) เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (X) = 4.91 (S.D. = 0.29) ด้านเนื้อหา (X) = 4.84, (S.D. = 0.46) ด้านสื่อการเรียนรู้ (X) = 4.68 (S.D. = 0.49) และด้านการวัดและประเมินผล (X) = 4.67 (S.D. = 0.54) ตามลำดับ

References

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ . สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์และธงชัย ชิวปรีชา. (2560). ชุดพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 ทักษะ การจําแนกประเภท. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ธีระชัย ปูรณโชติ. (2539). การสร้างผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพวรรณ ถนอมพันธ์และนฤมล ภูสิงห์. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบฝึกทักษะ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ 5(3), 193-204.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การพัฒนาการสอน. สุวีริยาสาส์น.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2530). นวัตกรรมทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). เจริญวิทย์การพิมพ์.

ประภาพรรณ สุวรรณสุข. (2560). การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในเอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ระดับปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 8 (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2530). ประโยชน์สูงสุดของชีวิตนี้. อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ

พิมพ์ชนก เนื่องทะบาล. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. ประสานการพิมพ์.

รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์. (2562). การส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเทคนิคและวิธีการสอนในระดับประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

รำพึง โนพวน. (2557). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2564). รายงานผลการเรียนประจำปีการศึกษา 2564.

โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์: โรงเรียนสมถวิล หัวหิน.

วันวิสาข์ ศรีวิไล. (2556). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบผสมผสาน ระหว่างวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับ การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 9(2), 116-125.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28