การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิกส์ วิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดม่วงงาม จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ปทิตตา แสนกล้า -
  • วีรวัฒน์ จันทรัตนะ

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะการอ่าน, วิธีการสอนแบบโฟนิกส์, พฤติกรรมใฝ่เรียนรู้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิกส์ เรื่อง สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม วิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดม่วงงาม จังหวัดเพชรบุรี (2) เพื่อประเมินทักษะการอ่านของนักเรียนหลังเรียนด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิกส์ เรื่องสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม วิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดม่วงงาม จังหวัดเพชรบุรี และ (3) เพื่อประเมินพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดม่วงงาม จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนวัดม่วงงาม จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบโฟนิกส์ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ (3) แบบประเมินทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ และ (4) แบบประเมินพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ในรายวิชาภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ มีสถิติพื้นฐานซึ่งประกอบไปด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติอ้างอิง T–test

ผลการวิจัย พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การสอนแบบโฟนิกส์มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ผลการประเมินทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิกส์ พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการสอนแบบโฟนิกส์มีผลการประเมินทักษะการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 8.08 และ (S.D = 0.79) อยู่ในระดับดี (3) การประเมินพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิกส์ พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการสอนแบบโฟนิกส์มีผลการประเมินพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 15.29 และ (S.D = 2.39) อยู่ในระดับดี

References

ก็ก่อ พิสุทธิ์ และกัลยรัตน์ ชาวันดี. (2561). การพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้ชุดฝึกทักษะ

โฟนิกส์ออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา. http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25620911_150656_0997.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการใช้แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับมัธยมศึกษาและโครงการโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ผู้แต่ง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ผู้แต่ง.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). เรียนให้รู้: ใช้ข้อมูลอย่างผู้ชนะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ซัคเซส มีเดีย.

จิตวดี วังสนาม. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านออกเสียงแบบโฟนิกส์ (Phonics) โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, คณะครุศาสตร์.

จิราภรณ์ เสืออินทร์. (2557). การพัฒนาทักษะความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยการสอนแบบโฟนิกส์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา-บัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐพล สุริยมณฑล. (2560). การสอนแบบโฟนิกส์เพื่อส่งเสริมการออกเสียงและความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทรงพจน์ สุภาผล. (2557). นักวิจัยช่วยไขปริศนาว่าทำไมเสียงเพลงจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความทรงจำของคนเราได้. https://www.voathai.com/a/music-and-memories-ss/1822556.html

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น์.

บุษกร โยธานัก. (2555). พัฒนาการของเด็กวัยเรียน 6-12 ปี. https://www.gotoknow.org /posts/305078

ปราณี กองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการคิดเลขในใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบซิปปา โดยใช้แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะการคิดเลขในใจกับนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือครู. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ปิลันญา วงศ์บุญ. (2550). การศึกษาคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โฟนิกส์คืออะไร. (2557). โฟนิกส์คืออะไร. https://goodworksheet.wordpress.com/2014/11/14/ โฟนิกส์คืออะไร-2/

ศิรินภา พรหมคำ. (2558). แนวทางทางภาษาศาสตร์ในการสอนการเน้นเสียงพยางค์ภาษาอังกฤษในระดับคำสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2532). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์.

สุรวาท ทองบุ. (2550). การวิจัยทางการศึกษา. อภิชาตการพิมพ์.

สำลี รักสุทธี. (2553). คู่มือการจัดทำสื่อนวัตกรรมและแผนฯ ประกอบสื่อนวัตกรรม. พัฒนาศึกษา.

อินทิรา ศรีประสิทธิ์. (2552). ทฤษฎีใหม่ในการสอนภาษาอังกฤษสำหรับคนไทยที่รวมการวางพื้นฐานด้วย Phonemic

Awareness & Phonics ตามด้วยการสอนอ่านเป็นคำ (Whole Language) เพื่อแก้ปัญหาอาการภาษาอังกฤษบกพร่อง (Dyslexia) ของคนไทย. ใน เอกสารการอบรมครูในสภาพแวดล้อมที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (หน้า 1-14). UNESCO-APEID.

Guglielmino, P. J. & Guglielmino, L. M. (2003). Are your learners ready for e-learning? In Piskurich, G. (Ed.) The American Management Association handbook of e-learning: Effective design, implementation and technology solutions. AMACOM.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30