การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมักกะสันพิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ วรรณปะขี มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • ทัศพร เกตุถนอม มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

การจัดสภาพแวดล้อม, การเรียนรู้, โรงเรียนมักกะสันพิทยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมักกะสันพิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครตามความคิดเห็นของนักเรียนในเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนมักกะสันพิทยา จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมักกะสันพิทยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านกลุ่มเพื่อน ด้านการบริหาร ด้านอาคารสถานที่ (2) แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมักกะสันพิทยา มีแนวทาง ดังนี้ (1) ด้านการจัดการเรียนรู้ ควรจัดการเรียนรู้โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยี และสื่อที่สอดคล้องกับชุมชนและบริบทในชุมชน (2) ด้านกลุ่มเพื่อน ครูให้ความร่วมมือร่วมใจในการรักษาชื่อเสียงและภาพพจน์ของโรงเรียน (3) ด้านการบริหาร ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นกับการบริหารงานของโรงเรียน 4) ด้านอาคารสถานที่ ควรมีการจัดสถานที่แหล่งเรียนรู้ ห้องสมุด สวนวิทยาศาสตร์ สวนเกษตรภายในโรงเรียน

References

กิตติยา โพธิสาเกตุ. (2561). การพัฒนาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภายในสถานศึกษาเอกชน

สังกัดอัครสังฆมณฑลท่าแร่ หนองแสง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา),

มหาวิทยาลัยนครพนม.

จิราพร เครือแวงมน. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภายในสำหรับสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิตยา แก่นพุฒ. (2562). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษของโรงเรียนกาญจนา-

นุเคราะห์. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียน. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนมักกะสันพิทยา ระยะ 3

ปี ปีงบประมาณ 2565-2567. โรงเรียนมักกะสันพิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

กรุงเทพมหานคร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ.

รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา. (2564). โรงเรียนมักกะสันพิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,

กระทรวงศึกษาธิการ.

วนิดา ปณุปิตตา. (2561). การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนบงใต้โนนรังพัฒนา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร-มหาบัณฑิต

(การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วีซานา อับดุลเลาะ. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ใน

ศตวรรษที่ 21 “แนวคิด ทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

(การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2565). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4)

พ.ศ. 2562. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. บริษัทสยามสปอรต์ซินดิ จำกัด.

สิวราช อินต๊ะวิชัย. (2563). การศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของโรงเรียน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร-

มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภาวดี ทองสำฤทธิ์. (2561). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของ

ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร-มหาบัณฑิต

(การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สุรกิจ ปรางสร. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามหลัก

เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาจริยธรรมของเยาวชนไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

(การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตยโกสินทร์.

อภิบาล สุวรรณโคตร์. (2565). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของสถานศึกษา

ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองบุญมาก 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

Astin, A. W. (1986). The college environment. American Council on Education.

Cronbach, L. J. (1971). Essentials of psychological testing. (4th ed.) Harper & Row Publishers.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Marsden. (2006). Dale Brandt. Relations Between Teacher Perceptions of Safe and

Orderly Environment and Student Achievement Among Ten Better-Performing.

High-poverty School in One Southern California Elementary School District.

Dissertation Abstracts International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30