การพัฒนารูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) โดยใช้สื่อประสมชุดโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา (ว32243) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ทภภาภร เวียงคำ โรงเรียนหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบเสริมพลัง, กระบวนการคิด, สื่อประสม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด          (SNCBE) โดยใช้สื่อประสม ชุด โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) ขั้นตอนการวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ 3) การนำไปทดลองใช้ และ 4) การประเมินผล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง เป็นการทดลองในปีการศึกษา 2565 ใช้เวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) สื่อประสมชุด โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก2) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย (x−x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (Dependent Samples t-test) 

ผลการศึกษาสรุปได้ว่า 

1) รูปแบบการเรียนรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) โดยใช้สื่อประสม มีชื่อว่า SNCBE (Spark ideas; New knowledge; Cognitive adjustment; (Build knowledge; Evaluate learning outcomes) มีองค์ประกอบดังนี้ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการสอน และ 4. การประเมินผล โดยกระบวนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 จุดประกายความคิด (Spark Ideas) ขั้นที่ 2 แสวงหาความรู้ใหม่ (New Knowledge) ขั้นที่ 3 ปรับความรู้ความเข้าใจ

(Cognitive Adjustment) ขั้นที่ 4 สร้างองค์ความรู้ (Build Knowledge) และ ขั้นที่ 5 ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (Evaluate Learning Outcomes) และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) โดยใช้สื่อประสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 มีค่าเท่ากับ 83.00/83.44          ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 

2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังทดลองรูปแบบการเรียนรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 

References

กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี.

(2563). ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ปีการศึกษา 2561, 2562 และ 2563.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตรการสอน: องค์ความรูเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรูที่มีประสิทธิภาพ.

สำนักพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

(พิมพ์ครั้งที่ 19). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒนี นุ่นชูคัน. (2565). การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. โรงเรียนบ้านท่าดินแดง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. Journal

of Modern Learning Development, 7(10), 105-121.

วนิดา ศรีสุข. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 4).

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แสงมณี อยู่พุก. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริม

การคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการแก้ปัญหาและจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(1), 63-74.

Anderson , K. B. (1997) . The Concept of Problem-based Learning Conceptual Framework

and Practice-based Learning . Paper presented at University of Hawaii. March.

Joyce, B., & Weil, M. (1996). Model of teaching (5th ed). BAllyn and Bacon.

Kruse. (2007). Introduction to Instructional Design and the ADDIE Model.

http://www.transformativedesigns.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28