ประวัติชีวิต: เครื่องมือพัฒนาบุคลิกภาพวัยรุ่นไทย

ผู้แต่ง

  • รัจน์ชีวาต์ แซ่ตั๋น มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • พนิตา ภักดี มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

ประวัติชีวิต, วัฒนธรรมและบุคลิกภาพ, การพัฒนาบุคลิกภาพวัยรุ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับประวัติชีวิต และแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพของวัยรุ่นไทย และ 2) วิเคราะห์การใช้ประวัติชีวิตในฐานะเครื่องมือพัฒนาบุคลิกภาพวัยรุ่นไทย โดยใช้กรอบการวิเคราะห์วัฒนธรรมและบุคลิกภาพศึกษากับวัยรุ่นไทย จำนวน 50 คน ซึ่งส่วนใหญ่กำลังศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ภายใต้การสำรวจตนเองเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ และเขียนเล่าเรื่องราวของตนด้วยคำถาม 12 ข้อ ได้แก่ เหตุการณ์ก่อนกำเนิด วัยก่อนเข้าโรงเรียน ครอบครัวและความสัมพันธ์ เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง วัยเข้าเรียน วัยทำงาน วัยครองเรือน วัยเกษียณอายุการทำงาน สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต มุมมองที่มีต่อสังคมไทย มุมมองที่มีต่อสังคมโลก และความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด ซึ่งประวัติชีวิต คือ เครื่องมือวิจัยทางมานุษยวิทยาที่ยืนยันได้ว่า 1) ผู้ที่ทำการศึกษาบุคลิกภาพ หรือนักพัฒนาบุคลิกภาพเกิดความเข้าใจความแตกต่างทางปัจเจกของบุคคลภายใต้การขัดเกลาทางสังคมของระบบครอบครัว และมุมมองที่มีต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน รวมถึงความเข้าใจที่มีต่อบุคลิกภาพภายในที่วัยรุ่นแสดงออกผ่านการเขียนเล่าเรื่องราวของตน และ 2) สามารถสะท้อนเงื่อนไขวัฒนธรรมบุคลิกภาพของวัยรุ่นไทยกลุ่มดังกล่าว รู้สึกภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าของชีวิต องค์ความรู้ที่ได้ คือ บุคลิกภาพที่ปรากฏในปัจจุบัน เป็นผลของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เหตุการณ์ในอดีตเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอิทธิพล และความต้องการของบุคคลที่ทำให้เขาแสดงออกมา ซึ่งเน้นในเรื่องความต่อเนื่องระหว่างอดีตจนถึงปัจจุบัน และยังสะท้อนมุมมองในอนาคตได้

References

งามพิศ สัตย์สงวน. (2558). การวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จงจิตต์ โศภนคณาภรณ์. (2563). วัฒนธรรมและบุคลิกภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐกานต์ เฟื่องขจร. (2015). สมรรถนะจำเป็นของวิศวกรไทยสำหรับทำงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts), 35(3), 175-195.

ทัศนี ช้อยกิตติพันธ์. (2022). คุณลักษณะของยุววิศวกรสันติภาพในสถานศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 10(1), 461-471.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2566) คำศัพท์ทางมานุษยวิทยา.

https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/160.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2566). วิสัยทัศน์ พันธกิจ สมรรถนะหลักและค่านิยมร่วม. https://kmutnb.ac.th/about/philosophy.aspx.

อลงกรณ์ พลอยแก้ว. (2564). การเขียนอัตชีวประวัติ หรือชีวประวัติ.

https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/34225.

Buripakdi, A. (2013). Autoethnography: Introductory conceptual framework. Journal of Liberal Arts Prince of Songkla University, 5(1), 63-63. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/64379

Dollard. J. (1949). Criteria for the Life History. Perter Smith.

Judith, G. S. (2011). Adolescents, Families, and Social Development: How Teens

Construct Their Worlds. Wiley-Blackwell.

Smetana, J. G. (2011). Adolescents, families, and social development: How teens construct their worlds. Wiley-Blackwell.

Lazarus, R. S. (1977). Personality. Prentice-Hall.

LeVine, R. A. (2018). Culture, Behavior, and Personality: An Introduction to the Comparative Study of Psychosocial Adaptation (2 ed.). Taylor & Francis.

McAdam, D. P., Rebecca, L. S., & Jennifer, L. T. (Eds.) (2021). Handbook of personality development. Guilford Publications, Inc.

Kantu, P. (2021). Adolescents, families, and Social Development: How Teens Construct their worlds? Adolescents, families, and Social Development: How Teens Construct their worlds? Journal of Social Synergy, 12(1), 105-111. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/thaijss/article/view/251722

Skinner, B. F. (2011). About Behaviorism. Vintage Books Edition.

Wikipedia. (2023). อัตชีวประวัติ. https://th.wikipedia.org/wiki/อัตชีวประวัติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28