แนวทางการการป้องกันและเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกซ้อมทรมาน

ผู้แต่ง

  • ชนม์เจริญ ทับทิมโต ASM Company
  • ฐิติพร ขีระจิตร

คำสำคัญ:

การซ้อมทรมาน;, การป้องกัน, การเยียวยา, พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน, กระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาและผลกระทบจากการซ้อมทรมานในประเทศไทย ศึกษามาตรการป้องกันการซ้อมทรมานที่เหมาะสมในประเทศไทย และศึกษาและวิเคราะห์แนวทางในการเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกซ้อมทรมานและทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมทั้งทางร่างกายและจิตใจให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็น     ไปได้ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การซ้อมทรมานเกิดขึ้นจากสภาวะยกเว้นซึ่งเป็นที่เกิดขึ้นมาโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 รวมถึงค่านิยมและวัฒนธรรมอย่างไม่เป็นทางการอย่างหนึ่งของประเทศไทย โดยการจะป้องกันได้นั้นต้องจัดการกับผลของการใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าว เพื่อทำให้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย
พ.ศ. 2565 สามารถใช้บังคับได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และในส่วนของการเยียวยาผู้เสียหายต้องทำให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเน้นไปที่การเยียวยาจิตใจเป็นหลัก

References

จรัญ โฆษณานันท์. (2555). นิติปรัชญาแนววิพากษ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์นิติธรรม.

_______. (2563). นิติปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

_______. (2565). นิติปรัชญา: หลักนิติธรรม สภาวะยกเว้นและปฐมบทแห่งคำพิพากษาแนวรัฐประหารนิยมตุลาการภิวัตน์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธงชัย วินิจจะกูล. (2563). รัฐราชาชาติ. สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.

ปิยบุตร แสงกนกกุล. (2553). สภาวะยกเว้น ในความคิดของ Giorgio Agamben. วารสารฟ้าเดียว, 8(1), 84-91.

_______. (2565). จนกว่าอำนาจสูงสุดจะเป็นของประชาชน. มูลนิธิคณะก้าวหน้า.

ภัทรวรรณ ทองใหญ่. (2562). อาชญาวิทยาและทันฑวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภาสกร ญี่นาง. (2564). กฎหมายในความรุนแรง ความรุนแรงในกฎหมาย : การลอยนวลพ้น ผิดทางกฎหมายของรัฐไทยในกรณีการใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมทางการเมือง.

(วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภิรัชญา วีระสุโข. (2558). ยอมรับโทษ แต่ไม่ยอมรับผิด" นิติสำนึกว่าด้วยความยุติธรรมใน สิทธิชุมชนของ

กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด-บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2564). คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์ อ่านกฎหมาย.

ศศิภา พฤษฎาจันทร์. (2564). การปรับใช้สูตรของร้าดบรุค (Radbruchsche Formel) ในฐานะข้อจำกัดของ

หลักการห้ามใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่บุคคล ในทางอาญาโดยศาลรัฐธรรมนูญแห่ง

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 50(3) 260-281.

อังคณา นีละไพจิตร. (2563). สิทธิมนุษยชนที่สูญหาย : การไม่มีอยู่และวัฒนธรรมไร้ยางอายในการรับผิดของรัฐ. มูลนิธิ 14 ตุลา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28