ปัจจัยคุณภาพการให้บริการและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พัณณ์ชิตา อิทธิกรไพศาลกุล มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุทธาทิพย์ กำธรพิพัฒนกุล มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ, การยอมรับเทคโนโลยี, ความพึงพอใจ, ความภักดี, แอปพลิเคชัน ViaBus

บทคัดย่อ

การศึกษางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus ในกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus ในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณประเภทวิจัยเชิงสำรวจ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานวิจัยนี้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงหรือสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ด้านการให้ความมั่นใจต่อลูกค้า ด้านความเข้าใจและรับรู้ความต้องการ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ และปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ด้านการรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความง่ายส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการส่งผลเชิงบวกต่อความภักดีของผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กัณฐิกา แซ่เรือง. (2563). การยอมรับเทคโนโลยี และการรับรู้ความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้

แอปพลิเคชันเรียกรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์รับจ้างของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชุติกาญจน์ ศริวิมลวรรณ, อัมพล ชูสนุก และวทัญญู รัศมิทัต. (2562). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ ความปลอดภัย และความง่ายในการใช้งานต่อการใช้งานระบบ ความพึงพอใจ ความตั้งใจใช้บริการอย่างต่อเนื่อง และการบอกต่อของลูกค้าแอปพลิเคชัน MyMo ของธนาคารออมสิน. Veridian E-Journal, 12, 1427-1444.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 17). ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล, ปิยากร พรพีรวิชญ์, เปมิกา พันธุ์สุมา, และพิจักษณ์ วราเสนีย์วุฒิ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในการใช้บริการแอปพลิเคชันของฟู้ดแพนด้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 29-42.

บัณฑิต ชวนขุนทด, สมบูรณ์ ศรีอนุรักษ์วงศ์ และประภัสสร วิเศษประภา. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเวียบัส (ViaBus) ของประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ปวิณตา ลีรัตนแสงโชค. (2564). การยอมรับการใช้เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีในตราสินค้าของผู้ใช้บริการเฟดเอกซ์ผ่านช่องทางออนไลน์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปุณยวีร์ วีระพงษ์. (2565). คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน กรณีศึกษา : Grab Food. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

รดา เกตุแก้ว. (2559). คุณภาพการบริการและการเปิดรับข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชันในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ลัดดาวัลย์ อรุณเลิศ และศิริรัตน์ โกศการิกา. (2565). ปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจและการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าแอปพลิเคชันฟู้ดแพนด้า. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 10(1), 130-143.

วิไลวรรณ พกนนท์. (2558). การรับรู้คุณภาพการบริการและความพึงพอใจในการใช้บริการ เอไอเอส พริวิเลจ แอปพลิเคชันของผู้ใช้บริการเครือข่ายเอไอเอสในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศุภวรรณ พิพิธสมบัติ. (2564). ข่าวสารและความเคลื่อนไหว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://chula.ac.th /highlight/47660/.

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. (2566). จำนวนผู้ใช้บริการรถโดยสาร-ขสมก. ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2566. https://bmta.co.th/th/content/จำนวนผู้ใช้บริการรถโดยสาร-ขสมก-ประจำวันที่-29-กรกฎาคม-2566-จำนวน-512826-คน.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley and Sons.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. College Division.

Kotler, E. L., & Amstrong, K. (2006). Marketing management (12th ed). Prentice-Hall.

Oliver, R. L. (1999). Whence consumer loyalty?. Journal of Marketing, 63, 33-44.

Parasuraman, A., Zeithmal, V. A., & Berry, L. L. (1990). Five imperatives for improving service quality. MIT Sloan Management Review, 31(4), 29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28