ปัจจัยพฤติกรรมการยอมรับและค่านิยมทางสังคมที่ส่งผลต่อทัศนคติ และความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • มนตรี แพทยารักษ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุทธาทิพย์ กำธรพิพัฒนกุล มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การยอมรับเทคโนโลยี, ค่านิยมทางสังคม, ความตั้งใจซื้อ, รถยนต์ไฟฟ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการรับรู้ความง่ายที่ส่งผลต่อการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานของผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย (2) ศึกษาการรับรู้ความง่ายและประโยชน์ในการใช้งานที่ส่งผลต่อทัศนคติของผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย (3) ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยี ราคา ความเสี่ยง อิทธิพลทางสังคม และความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลต่อการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.595 ส่วนการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลต่อทัศนคติที่มีต่อการใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.400 และ 0.323 ตามลำดับ การยอมรับด้านราคา ทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน และการรับรู้ความเสี่ยงมีอิทธิพลต่อทัศนคติที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.249, 0.233 และ 0.116 ตามลำดับ ส่วนการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและอิทธิพลทางสังคมมีอิทธิพลต่อทัศนคติที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.173 และ 0.139 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กรกฎ มงคลโสภณรัตน์. (ม.ป.ป.). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารการขนส่งและโลจิสติกส์, 1(12), 71-75.

ตฤณวรรษ ปานสอน และเกษม ชูจารุกุล. (2562). พฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร. วารสารการขนส่งและโลจิสติกส์, 1(12), 71-75.

ตุลยา ดำรงธรรมวานิช. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการยอมรับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผู้จัดการออนไลน์. (2564). นายกฯ หนุนไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ย้ำบทบาทไทยในฐานะดีทรอยต์แห่งเอเชีย. https://mgronline.com/politics/detail/9640000125375

พรพรรณพรม หล่อเลิศประดิษฐ์. (2563). การยอมรับ connected smart cars ของคน generation Y.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารเทคโนโลยี), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพิ่มสกุล พูลมา และบดินทร์ รัศมีเทศ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้รถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขต

กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(4), 74-88.

วริษฐา ดินอุดม. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีและความตั้งใจจะใช้รถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารเทคโนโลยี), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิวาลัย ขันธะชวนะ. (2562). EIC แบงก์ไทยพาณิชย์ วิเคราะห์พิษฝุ่น PM 2.5 ส่องนโยบายไทย-เทศด้านดีเซล. https://thaipublica.org/2019/01/eic-pm2-5/

สันติ กระแจะจันทร์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ของกลุ่มผู้ประกอบกิจการขนส่งและกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ในประเทศไทย.การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564(16), 709-171.

หนึ่งฤทัย รัตนาพร. (2562). การศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติต่อการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มคนเจนเนอ-เรชั่น X และY ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารเทคโนโลยี), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Ajzen, I. (2012). Values, Attitudes, and Behavior. In: Salzborn, S., Davidov, E., Reinecke, J. (eds) Methods, Theories, and Empirical Applications in the Social Sciences. VS Verlag für Sozialwissenschaften. https://doi.org/10.1007/978-3-531-18898-0_5

Bamberg, S. (2003). How does environmental concern influence specific environmentally related behaviors? A new answer to an old question. Journal of Environmental Psychology, 23(1), 21-32,

Davis, F., Bagozzi, R., & Warshaw, P. (1989). User Acceptance of Computer Technology: a Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, 982-1003.

Dunlap, E. R., & Jones, E. R. (2002). Environmental Concern: Conceptual and Measurement Issues. 484 -524.

Engel, J. F., Kollat, R. D., & Miniard, P. W. (1986). Consumer Behavior (15th ed.) Dryden Press.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. Pearson College Division.

Lee, S., Illia, A., & Lawson-Body, A. (2011). Perceived Price Fairness of Dynamic Pricing. Industrial Management and Data Systems. 111(4), 531-550.

Saichao, L. (2017). A Study on Factors Affecting Customer’s Attitude toward Intention to Purchase Green Products in Bangkok, Thailand. Independent Study (M.B.A.)Graduate School, Bangkok University

Zimmer, M.R., Stafford, T.F., & Stafford, M.R. (1994). Green issues: Dimensions of environmental concern. Journal of Business Research, 30(1), 63-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29