อิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และผลรวมของหลัก 5 ป ที่มีต่อการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 4

ผู้แต่ง

  • พิชศาล พันธุ์วัฒนา คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

อิทธิพล, หลัก 5 ป., ตำรวจนครบาล 4

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของตัวแปรการประสานงาน ความโปร่งใส ความเป็นธรรม การป้องกัน ประสิทธิภาพ และหลักการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาอิทธิพลของการประสานงาน ความโปร่งใส ความเป็นธรรม การป้องกัน และประสิทธิภาพที่มีต่อการปฏิบัติงานของตำรวจนครบาล 4 ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากตำรวจนครบาล 4 จำนวน 160 คน ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเส้นทางความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการประสานงานตำรวจส่วนใหญ่เห็นด้วยมากที่สุดกับการมีการจัดงานราบรื่นปราศจากการขัดแย้ง ด้านความโปร่งใสเห็นด้วยระดับมากที่สุดกับการเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติงาน ด้านความเป็นธรรมเห็นด้วยระดับมากที่สุดกับการมีระบบตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่ ด้านการป้องกันเห็นด้วยระดับมากที่สุดกับการมีข้อมูลนาฬิกาอาชญากรรมเป็นปัจจุบัน ด้านประสิทธิภาพเห็นด้วยระดับมากที่สุดกับการมีการวางแผนกำหนดอัตรากำลังที่ชัดเจน โดยตำรวจนครบาล 4 เกือบครึ่งของกลุ่มเป้าหมายเห็นว่าการปฏิบัติงานของตนอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) การป้องกันมีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อการปฏิบัติงานของตำรวจนครบาล 4 ส่วนความโปร่งใสมีอิทธิพลทั้งทางอ้อมและผลรวมต่อการปฏิบัติงานของตำรวจนครบาล 4 มากที่สุด

References

จงรัก วัฒนดิเรก. (2562). ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ของกองบังคับการตำรวจนครบาล 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2), 45-57.

ฉัันท์์ชนก เจนณรงค์์. (2564). แนวทางการส่งเสริมความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภาครัฐในภาวะ วิกฤต. วารสาริชาการ ป.ป.ช., 14(2), 104-126.

ปัญชนา เสนาคุณ และจอมเดช ตรีเมฆ. (2564). การมีส่วนร่วมของผู้รักษาความปลอดภัยในชุมชนเพื่อการป้องกันอาชญากรรมของเมืองมหาวิทยาลัย ชุนชนเมืองเอก จังหวัดปทุมธานี. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 14(3), 17-34.

ภาคิน โชติเวศย์ศิลป์ และดิฐภัทร บวรชัย. (2566). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมทางการเมืองในประเทศไทย. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 10(2), 112-127.

ราชกิจจานุเบกษา. (2550). ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติเรื่อง การกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจความรับผิดชอบหรือ เขตพื้นที่การปกครองของส่วนราชการในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาลและตำรวจภูธรภาค 1 ถึง 9. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 124 ตอนพิเศษ 139 ง, หน้า 1-265.

รัฐเขต ไชยเศรษฐสิทธิ์ เสกสัณ เครือคำ และโสรัตน์ กลับวิลา. (2566). มาตรการการป้องกันอาชญากรรมภายในสนามบินอู่ตะเภาเพื่อรองรับการเปิดเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารอาชญาวิทยาและสังคมศาสตร์, 5(2), 18-34.

สถานีตำรวจนครบาลหัวหมาก. (2566). คำสั่งสถานีตำรวจนครบาลหัวหมากที่ 11/2566 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานีตำรวจนครบาลหัวหมาก ประจำปีงบประมาณ 2566. https://huamark-police.au.edu/wp-content/uploads/2023/07/30-files02.pdf

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). สามลดา.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2558). การสร้างมาตรวัดสาหรับการวิจัยที่ถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. สามลดา.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2566). แผนปฏิบัติราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. โรงพิมพ์ตำรวจ.

สำนักงาน ป.ป.ช.. (2566). สำนักงาน ป.ป.ช. ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการประเมินคุณธรรม. https://www.nacc.go.th/categorydetail/2038361/2023 0810125839?

สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร. (2563). จำนวนชุมชนประเภทต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2563: จำนวนตามเขต (เรียงตามจำนวนชุมชน). https://webportal.b angkok.go.th/pipd

อัฐพงษ์ บุญสร้าง และพงศ์กุลธร โรจน์วิรุฬห์. (2566). ความเชื่อมั่นของประชาชนจากการจัดการป้องกันอาชญากรรมในแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 15(1), 104-119.

Rowls, J. (1971). The theory of Justice: Original Edition. https://doi.org/10.2307/j.ctvjf9z6v

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29