อิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกที่มีต่อละครร้อง เรื่อง ตุ๊กตายอดรัก
คำสำคัญ:
ละครร้อง, ละครร้อง เรื่อง ตุ๊กตายอดรัก, รูปแบบการแสดง, อิทธิทางวัฒนธรรมตะวันตกบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ละครร้อง เรื่อง ตุ๊กตายอดรัก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกที่มีต่อละครร้อง เรื่อง ตุ๊กตายอดรัก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ สังเกตการณ์ และนำข้อมูลมาเรียบเรียง วิเคราะห์ จากนั้นสรุปข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการศึกษา พบว่าละครร้อง เรื่อง ตุ๊กตายอดรัก เป็นละครร้องที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตกในหลายด้าน ได้แก่ 1) อิทธิพลด้านโครงสร้างของละคร ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายเรื่อง ดิ เอนแชนทิด ดอลล์ (The Enchanted Doll) ของนักประพันธ์ชาวอังกฤษ 2) อิทธิพลด้านรูปแบบการแสดง ที่ผู้แสดงเป็นคนยืนนิ่งเหมือนภาพวาดแทนตุ๊กตา ซึ่งได้รับแนวคิดมาจากการแสดง “ตาโบลวิวังต์” 3) องค์ประกอบการแสดงที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก ได้แก่ (1) ท่าทางที่ใช้ในการแสดง ได้รับแนวคิดมาจากการแสดงโอเปร่าของตะวันตก เรียกว่า “ท่ากำแบ” (2) เพลงที่ใช้ในการแสดง ได้รับอิทธิมาจากตะวันตก ทำให้เกิดเป็นเพลงไทยทำนองฝรั่ง (3) การแต่งกายในละครร้อง เรื่อง ตุ๊กตายอดรัก มีลักษณะการแต่งกายที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก คือ การสวมเสื้อราชประแตน สวมหมวก สวมถุงเท้า และรองเท้า ผู้หญิงเริ่มสวมเสื้อแพรไหม ลูกไม้ ตัดแบบตะวันตก เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้าสู่สังคมไทยอย่างชัดเจน และ (4) เวทีและฉากประกอบการแสดง พื้นที่ที่ใช้ในการแสดงเป็นลักษณะคล้ายละครตะวันตกและเทคนิคการปรับเปลี่ยนฉากเพื่อความสมจริง ส่วนประกอบของการแสดงละครร้องดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความน่าสนใจและความแปลกใหม่ของละคร ทำให้ละครร้อง เรื่อง ตุ๊กตายอดรัก เป็นละครร้องร่วมสมัยที่สามารถพัฒนาไปในระดับสากล และเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการแสดงของละครร้องแบบไทย เพื่อการพัฒนา สืบสาน และอนุรักษ์ต่อไป
References
กาญจนาคพันธุ์. (2520). เรื่องของละครและเพลง. สำนักพิมพ์เรืองศิลป์.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2474). สำเนาพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชทานกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์. (พระนางเธอลักษมีลาวัลทรง พิมพ์เนื่องในงานพระศพกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์). พระนคร: โสภณ พิพรรณธนากร.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2565). การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม. https://anthropologyconcepts.sac.or.th/glossary/35
บรรณฑรวรรณ ทองคำพงษ์. (2560). การออกแบบหนังสือข้อมูลเชิงคุณภาพ เรื่องวิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีไทยตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์สมัยใหม่ถึงปัจจุบัน. ศิลปนิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ประเทิน มหาขันธ์. (2525). ศิลปะการละครร้องของไทย. มูลนิธิเจมส์ ทอมสัน.
ปิยะนาถ อังควาณิชกุล. (2549). การสร้างความเป็นตะวันตกให้กับเมืองบางกอกในช่วงการปรับตัวให้ทันสมัย.วารสารประวัติศาสตร์, 49(1), 56-77.
พูนพิศ อมาตยกุล. นักวิชาการสาขาดนตรีวิทยา ที่ปรึกษาวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล (ผู้ให้สัมภาษณ์) ลักษิกา สุภาโชค. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2568.
พวงเพ็ญ สว่างใจ. (2551). คุณค่าทางวรรณคดีของบทละครรองของไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีณา เรี่ยวแรง. (2565). ละครแก้บนในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
สาวิกา ชื่นคงชู. (ผู้ให้สัมภาษณ์) ลักษิกา สุภาโชค. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 21 มกราคม 2568.
เสาวนิต วิงวอน. (ผู้ให้สัมภาษณ์) ลักษิกา สุภาโชค. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2567.
สืบศักดิ์ ดุริยประณีต. (ผู้ให้สัมภาษณ์) ลักษิกา สุภาโชค. (ผู้สัมภาษณ์) เมื่อ 30 กุมภาพันธ์ 2568.
อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2555). ความคาดหวังของผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษาต่อบทบาทการส่งเสริมการบริหารงานเอกสารข้อมูลทางวัฒนธรรมของสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ได้รับ ทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปีงบประมาณ 2555.
Aimee, H. (2020). Gestures and their role in restoring a singer’s performance-focus. https://www.researchcatalogue.net/view/544323/727178
Peter, V. (2022). Tableau Vivant and the Aesthetics of Modernity. A dissertation for the degree of Doctor, University of Michigan.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.