น้ำกับความแห้งแล้งในภาคอีสาน
คำสำคัญ:
ความแห้งแล้ง, น้ำ, ภาคอีสานบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในไทยส่งผลกระทบโดยตรงกับการเกษตรและแหล่งน้ำต่าง ๆ ในภาคอีสาน เช่น เขื่อนแม่กวง ภูมิพล สิริกิติ์ แม่มอก ทับเสลา กระเสียว จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำพระเพลิง ลำแซะ ลำนางรอง ป่าสักฯ คลองสียัด และหนองปลาไหล ส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางการเกษตร เช่น พื้นดินขาดความชุ่มชื้น พืชขาดน้ำ พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ รวมถึงปริมาณลดลง ความแห้งแล้งที่เกิดมีผลต่อการเกษตร มักเกิดในฤดูฝนที่มีฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้ง และทิ้งช่วงโดยแต่ละปีจะเกิดขึ้นได้ 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน โดยเริ่มจากปลายเดือนตุลาคมเป็นต้นไป เฉพาะอย่างยิ่งบริเวณพื้นที่ภาคอีสาน จะมีปริมาณฝนลดลงไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป ซึ่งความแห้งแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ส่วนความแห้งแล้งอีกช่วงหนึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงกลางฤดูฝน คือ ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่น หรือบางบริเวณ แต่บางครั้งก็อาจครอบคลุมพื้นที่กว้างเกือบทั่วในภาคอีสาน