ความขัดแย้งและการต่อรองระหว่างตัวละครกับค่านิยมของสังคมญี่ปุ่นในการ์ตูนญี่ปุ่น ร่วมสมัยแนววงวนเวลา: กรณีศึกษา เรื่อง ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง

ผู้แต่ง

  • พัฒนเดช กอวัฒนา

คำสำคัญ:

วงวนเวลา, ค่านิยมสังคมญี่ปุ่น, สังคมหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

กลวิธีการสร้างโครงเรื่องแบบวงวนเวลา (Time-loop) เป็นที่นิยมในการ์ตูนญี่ปุ่นหลังปี 2000 เป็นต้นมา และยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง (ひぐらしのなく頃に) ถือเป็นหนังสือการ์ตูนแนววงวนเวลาหลังปี 2000 เรื่องหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ โดยจะเห็นได้จากการที่ผลงานชิ้นนี้ถูกนำไปดัดแปลงเป็นทั้งภาพยนตร์การ์ตูน ภาพยนตร์คนแสดง และวิดีโอเกมเป็นจำนวนมาก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความขัดแย้งและการต่อรองระหว่างตัวละครกับค่านิยมของสังคมญี่ปุ่นใน ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง ผ่านกลวิธีการสร้างโครงเรื่องแบบวงวนเวลา โดยตัวละครจะต้องย้อนเวลากลับมาเผชิญกับโศกนาฏกรรมแบบเดิมในเวลาและสถานที่เดิม   ซ้ำ ๆ จนกว่าจะหาทางหลุดพ้นจากวังวนของโศกนาฏกรรมดังกล่าว จากการศึกษาพบว่าวังวนของโศกนาฏกรรมนั้นมีที่มาจากค่านิยมสังคมหมู่บ้านซึ่งสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในกลุ่มด้วยการสร้างความเป็นอื่น ทั้งนี้ค่านิยมสังคมหมู่บ้านถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ญี่ปุ่นรับสืบทอดมาจากสังคมหมู่บ้านแบบดั้งเดิมก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ โดยวงวนเวลาสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการปะทะสังสรรค์ระหว่างตัวละครกับค่านิยมสังคมเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02