ความต้องการสมรรถนะแรงงานด้านโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ผู้แต่ง

  • ภัค วีระเสถียร
  • กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ

คำสำคัญ:

สมรรถนะของแรงงาน, ความคาดหวังของผู้ประกอบการ, แรงงานด้านโลจิสติกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะที่ผู้ประกอบการคาดหวังในแรงงานด้าน             โลจิสติกส์และแนวทางพัฒนาสมรรถนะของแรงงานในระดับอนุปริญญา- ปริญญาเอก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ปวส. และระดับประถมศึกษา ในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย  (10 S – curve) ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยการเก็บแบบสอบถามเปรียบเทียบระหว่างระดับสมรรถนะแรงงานในปัจจุบัน (ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ) กับระดับความคาดหวังของผู้ประกอบการ ผู้ตอบแบบสอบถามคือผู้ประกอบการจำนวน 300 ราย จากฐานข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนปี 2562 ประกอบไปด้วย ผู้ให้บริการขนส่งทางอากาศและโลจิสติกส์ บริการขนส่งพัสดุไปรษณีย์และกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน ทำการวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างสมรรถนะแรงงานกับความคาดหวังของผู้ประกอบการด้วยเครื่องมือทางสถิติ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการจำนวน 5 ราย เพื่อหาข้อเสนอในการปรับปรุงประสิทธิภาพของแรงงานให้ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการต่อไป

ผลการศึกษาพบว่าสมรรถนะของแรงงานด้านโลจิสติกส์ ของแรงงานทั้ง 3 ระดับการศึกษา มีคะแนนต่ำกว่าความคาดหวังของผู้ประกอบการในทุก ๆ ด้าน โดยแรงงานระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ปวส.มีระดับสมรรถนะโดยรวมต่ำกว่าความคาดหวังมากที่สุด รองลงมาคือระดับอนุปริญญา-ปริญญาเอก และระดับประถมศึกษาตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์คือสมรรถนะที่ผู้ประกอบการให้ความคาดหวังมากที่สุดสำหรับแรงงานด้านโลจิสติกส์ในทุกระดับการศึกษา โดยเฉพาะด้านความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความมีวินัยและการตรงต่อเวลา เนื่องจากคุณลักษณะคือนิสัยการทำงานและการดำเนินชีวิตซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งความสำเร็จ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02