การศึกษาภาพสะท้อนสังคมวัฒนธรรมและศิลปะการใช้ภาษา ในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่งที่ประพันธ์โดย ระพี เรือนเพชร
คำสำคัญ:
ภาพสะท้อนสังคมวัฒนธรรม, การใช้ภาษา, วรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง, ระพี เรือนเพชรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนทางสังคมวัฒนธรรมและการใช้ภาษาในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่งของระพี เรือนเพชร ผลการศึกษาพบว่า ภาพสะท้อนทางสังคมวัฒนธรรม ปรากฏเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและครอบครัวมากที่สุด รองลงมาคือภาพสะท้อนด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการประกอบอาชีพและการแสดงถึงความมีน้ำใจของคนไทยด้วยกัน ในวรรณกรรมเพลงสะท้อนให้เห็นค่านิยมด้านต่าง ๆ ได้แก่ ค่านิยมคนมีทรัพย์สินเงินทอง การมีคุณธรรมโดยเฉพาะความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญู และความจริงใจ สุดท้ายคือค่านิยมแสดงความรักชาติ เพลงของระพี เรือนเพชร ยังสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อ ได้แก่ ประเพณีการบวช การแต่งงาน ส่วนความเชื่อก็เป็นเรื่องบาปบุญคุณโทษ และการเคารพพระรัตนตรัย ส่วนศิลปะการใช้ภาษา พบว่า มีการใช้ภาษาปากมากที่สุด รองลงมาเป็นการใช้ภาษาภาพพจน์ การเล่นคำ และการใช้คำสัมผัสตามลำดับ การใช้ภาษาดังกล่าวถือเป็นศิลปะที่สร้างความไพเราะให้แก่วรรณกรรมเพลงให้มากยิ่งขึ้น