การสร้างสรรค์การบูชาเรือแม่ตะเคียนทอง “เศรษฐีเรือทอง” วัดพุน้อย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • สมศักดิ์ กรอบมุข
  • ณัฐา ค้ำชู

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์, เรือแม่ตะเคียนทอง, วัดพุน้อย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์การบูชาเรือแม่ตะเคียนทอง “เศรษฐีเรือทอง”  ของวัดพุน้อย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยใช้ข้อมูลจากเอกสาร สื่อสารสนเทศ และข้อมูลภาคสนามที่ ได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ถึงเดือนมีนาคม
พ.ศ.​ 2562          
            ผลการวิจัยพบว่า กำเนิดความเชื่อเรื่องการบูชาเรือแม่ตะเคียนทอง มีจุดเริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2516 โดยมีที่มาจากหลวงปู่แบน จนฺทสโร เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดพุน้อย ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน ภายหลัง
พระโสภณพัฒนคุณ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันเป็นผู้สืบทอด การบูชาเรือแม่ตะเคียนทองเป็นการผสมผสานประเพณีและพิธีกรรมที่เกิดจากการสร้างสรรค์ 2 ลักษณะ คือ 1) การสร้างสรรค์การบูชาเรือแม่ตะเคียนทองจากประเพณีและพิธีกรรมดั้งเดิม โดยการปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมขั้นตอนและรูปแบบของประเพณี ได้แก่ ประเพณีจุลกฐิน พิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่แบน จนฺทสโร และพิธีไหว้ครูประจำปี 2) การสร้างสรรค์การบูชาเรือแม่ตะเคียนทองขึ้นใหม่ เป็นลักษณะการสร้างสรรค์ที่ใช้ความเชื่อเรื่องนางตะเคียนมาสร้างในรูปแบบใหม่ ได้แก่ รูปลักษณ์ของเครื่องรางนำโชคชนิดใหม่ พิธีกรรมยกเรือแม่ตะเคียนทอง และพิธีกรรมเสริมเรือแม่ตะเคียนทอง

            การบูชาเรือแม่ตะเคียนทองของวัดพุน้อยเป็นเสมือนศูนย์รวมพลังศรัทธาและสร้างกำลังใจในการดำเนินชีวิตท่ามกลางสังคมบริโภคนิยม ของกลุ่มผู้ศรัทธา “เศรษฐีเรือทอง”

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-03