การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยการยอมรับการใช้ระบบคลังข้อมูลดิจิทัล: กรณีศึกษาการใช้ระบบ SRU Intellectual Repository
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการใช้, การยอมรับเทคโนโลยี, ระบบคลังข้อมูลดิจิทัล, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้งานบริการสารสนเทศของผู้ใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ อาจารย์ นักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 865 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย (1) พฤติกรรมการใช้งานบริการสารสนเทศของผู้ใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย
(1.1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 592 คน คิดเป็นร้อยละ 68.4 สถานะผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นนักศึกษา จำนวน 420 คน คิดเป็นร้อยละ 48.6 และสังกัดหน่วยงานของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ หน่วยงานสนับสนุนวิชาการ จำนวน 200 คน คิดเป็นร้อยละ 23.1 (1.2) พฤติกรรมการใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาในการใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย 1-2 ชั่วโมง/ครั้ง จำนวน 295 คน คิดเป็นร้อยละ 34.1 ส่วนความถี่ในการเข้าใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย มากที่สุด คือ ต่ำกว่า 5 ครั้ง จำนวน 542 คน คิดเป็นร้อยละ 62.7 และวัตถุประสงค์การเข้าใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย มากที่สุด คือ เพื่อค้นคว้าข้อมูลเอกสารงานวิจัย จำนวน 438 คน คิดเป็นร้อยละ 50.6 และ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย (2.1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยคุณภาพของข้อมูลมากที่สุด (= 4.28) รองลงมาเป็นปัจจัยคุณภาพของระบบ ( = 4.07) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน (= 3.97) ปัจจัยพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งาน ( = 3.80)
และการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ( = 3.76) (2.2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย คือ ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และคุณภาพของระบบ
มีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งานระบบ ส่วนคุณภาพของข้อมูลไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งานระบบ คุณภาพของข้อมูล คุณภาพของระบบ และการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน
มีอิทธิพลโดยตรงต่อการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานระบบ คุณภาพของระบบ มีอิทธิพลโดยตรงต่อการรับรู้ความง่ายในการใช้งานระบบ