การฝึกการเรียนรู้ทางกลไกร่วมกับกระบวนการข้อมูลโดยใช้การจินตภาพที่ส่งผลต่อการปฏิบัติ เชิงกลยุทธ์ของนักกีฬาวอลเลย์บอลโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงษ์ ทำทาน
  • ธนิดา ภาสะวณิช

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ทางกลไก, กระบวนการข้อมูล, การจินตภาพ, การปฏิบัติเชิงกลยุทธ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการฝึกการเรียนรู้ทางกลไกร่วมกับกระบวนการข้อมูลโดยใช้การจินตภาพที่ส่งผลต่อการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ของนักกีฬาวอลเลย์บอลโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง  กลุ่มทดลองจำนวน 48 คน เพศชาย จำนวน 24 คน และเพศหญิง จำนวน 24 คน กลุ่มตัวอย่างมาจากการคำนวณด้วยโปรแกรม G*Power ที่ความคลาดเคลื่อน 10% ได้เท่ากับ 26 คน ผู้วิจัยจึงใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน เป็นเพศชาย จำนวน 15 คน และเพศหญิง จำนวน 15 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Sampling) เครื่องมือที่ใช้ (1) แบบประเมินความสามารถในการจินตภาพ (2) โปรแกรมการจินตภาพกลยุทธ์การเล่น 3 รูปแบบ (3) แบบประเมินความแม่นยำในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ และ (4) แบบประเมินความเร็วการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ช่วงก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ด้วยสถิติ Independent t-test เมื่อพบความแปรปรวนไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม   ผลการศึกษา พบว่า ความสามารถในการจินตภาพ ก่อนการฝึก ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย พบว่า หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีความสามารถในการจินตภาพสูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการฝึกการจินตภาพที่มีต่อความเร็วและความแม่นยำในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่า ความเร็วและความแม่นยำในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ก่อนการฝึก ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย พบว่า หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีความเร็วและความแม่นยำในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์มากกว่ากลุ่มควบคุม และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-19