การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาวิจัยเป็นฐาน รายวิชาพลเมืองที่เข้มแข็งของนักศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

ผู้แต่ง

  • ศิริชัย เพชรรักษ์ -

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาผู้เรียนจากประสบการณ์จริงโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ที่ศึกษารายวิชา  ศท 0022307 วิชา พลเมืองที่เข้มแข็ง ภาคการศึกษาที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสังเกตทางการเรียน  2) แบบบันทึกทางการเรียน และ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอน ผู้วิจัยพบว่า นักศึกษาเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ  มีความตั้งใจ  สนใจ กระตือรือร้นในการเรียน ทำงานภาคปฏิบัติโดยลงพื้นที่เก็บข้อมูล ให้ความร่วมมือในกิจกรรมการสอน โดยเฉพาะการทำงานเป็นกลุ่ม สามารถสอบผ่านทุกคน และความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนรายวิชา  ศท 0022307 วิชาพลเมืองที่เข้มแข็ง ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ต่อการสอนแบบออนไลน์ โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 90

References

จุฑา ธรรมชาติ. (2552). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาวิจัย ทางการศึกษา. ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี: สืบค้นวันที่ 13 ตุลาคม 2558. เข้าถึงได้จาก http://dcms.thailis.or.th/dcms/browse.php.

ทัศนีย์ บุญเติม. (2546). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27(2), 64 – 76.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียนันท์ สิทธิจินดา. (2552). ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอนด้วยวิจัยนอกชั้นเรียน. สืบค้นวันที่ 16 ตุลาคม 2558. เข้าถึงได้จาก http://www.node.rbru.ac.th/article/article31.pdf.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2545). “หลักการสอนแบบเน้นการวิจัย (Research-Based Teaching)” ในไพฑูรย์ สินลารัตน์, การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน, 1-7. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2555). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2549). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน: การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27(3-4), 17-26.

สินธะวา คามดิษฐ์. (2557, มกราคม - มีนาคม). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในระดับอุดมศึกษา Research– Based Learning (RBL) in Higher Education. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(85), 9 - 12.

เสาวภา วิชาดี. (2554, กรกฎาคม - กันยายน). การศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่: การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน = Education in the new paradigm: research-based learning. วารสารนักบริหาร, 31(3), 26 - 30.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2552). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค.

Mark Mossuto. (2008). Problem-based learning: Student. engagement, learning and contextualized problem solving. NCVER. Australia. http://www.thaigoodview.com/node/60470http://www.qa. kmutnb.ac.th/ qa_news/2545/QANEWS18_25450216.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-26