การบริหารงานพัสดุของโรงเรียนเครือข่ายกุมภวาปีในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2

ผู้แต่ง

  • อภิวัฒน์ พูลทรัพย์ Ratchathani University, Udonthani Campus

คำสำคัญ:

การบริหารงานพัสดุ, ผู้บริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุโรงเรียนเครือข่ายกุมภวาปีในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 219 คน คิดเป็นร้อยละ 96.90 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารงานพัสดุของโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ดานการเก็บ การบันทึก และการเบิกจ่าย รองลงมาคือ ด้านการยืม ด้านการจำหน่ายพัสดุ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบำรุงรักษา และการตรวจสอบ 2. ปัญหาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนเครือข่ายกุมภวาปี เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้ การเก็บ การบันทึก และการเบิกจ่ายแต่ละครั้งไม่เคร่งครัดในการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ การติดตามทวงพัสดุที่ให้ยืมผู้ยืมคืนไม่ครบและไม่ตามกำหนด ไม่มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์กับบุคลลากรในโรงเรียน และผู้บริหารสถานศึกษาขาดการสนับสนุนส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานพัสดุได้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถเพื่อให้ทราบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุ 3. แนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนในเครือข่ายกุมภวาปี เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อยดังนี้ เห็นควรตรวจสอบครุภัณฑ์เป็นประจำและทำการซ่อมแซมบำรุงรักษาก่อนใช้งาน จัดระบบสารสนเทศทะเบียนคุมวัสดุครุภัณฑ์เป็นปัจจุบัน จัดหาสถานที่ในการจัดเก็บครุภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพไม่สามารถใช้งานได้และจำหน่ายในระยะเวลาที่กำหนด และให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านพัสดุได้รับการอบรมพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบพัสดุ

References

การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560, ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 24. ก หน้า 13. 24 กุมภาพันธ์ 2560.

ชุติมา สรรพโส. (2562). สภาพและปัญหาการดำเนินงานพัสดุผ่านระบบสารสนเทศของ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จุฑามาศ เสมามอญ. (2558). ปัญหาและแนวทางพัฒนงานพัสดุของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตระยอง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ศึกษาศาสตร์, ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีรพงษ์ ภูธร. (2555). สภาพและปัญหาการบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์ของ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ลำปาง: มหาวิยาลัยราชภัฏลำปาง.

รัชดาพร บุญตา. (2561). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานพัสดุของ โรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตพนมสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ชลบุรี: มหาวิยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. (2564). กลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์ งานบริหารงานพัสดุ. เข้าถึงได้จาก https://www.udesa2.go.th.

สุภารัตน์ อ่ำชุ่ม. (2559). ปัญหาการบริหารงานพัสดุของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สุวัช มูลเมืองแสน. (2563). สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตตรวจราชการที่ 11. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Krejcie, R. V., & D. W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-26

How to Cite

พูลทรัพย์ อ. (2023). การบริหารงานพัสดุของโรงเรียนเครือข่ายกุมภวาปีในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(1), 57–68. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/1024