ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

ผู้แต่ง

  • สฤษดิ์ แสงรัตน์ -

คำสำคัญ:

ผู้นำเชิงจริยธรรม, ผู้บริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม เปรียบเทียบภาวะผู้นำและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 295 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนจำนวนประชากรตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และความแปรปรวนทางเดียว (One way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทดสอบโดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความยุติธรรม รองลงมาคือ ด้านความไว้วางใจ และด้านความซื่อสัตย์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการเอาใจใส่ ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดเล็กมีภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคู่อื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม คือ ผู้บริหารต้องปฎิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรมไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน วางตัวเป็นกลางโดยปราศจากอคติความชอบส่วนตัว ควรศึกษาข้อเท็จจริงอย่างถี่ถ้วนเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการตัดสินใจในเรื่องความยุติธรรมในโรงเรียน และมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถและความสมัครใจ

References

ดวงทิพา พุ่มไม้. (2557). การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

เพ็ญศิริ สมเรือน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภานุวัฒน์ บุญธัญกิจ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัตติกรณ์ จงวิศาล (2556). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

เศรษฐ์ คุณทาบุตร. (2556). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สลิลทิพ ชูชาติ. (2556). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแระถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย; กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานฯ. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี 2565. หนองคาย: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ; สำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

แสงสุริยา ศรีพูน. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. อุดรธานี: วิทยาลัยสันติพล.

สุรัตน์ ไชยชมภู. (2557). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 1-15.

สุรีวัลย์ ดาราพงษ์. (2557). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Brown, M. E., Treviño, L. K., & Harrison, D. A. (2005). Ethical leadership: A social learning perspective for construct development and testing. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 97(10).

Krejcie, R. V., & D. W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-26