แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของ ผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายอำเภอหนองวัวซอสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1

ผู้แต่ง

  • อรทัย พรหมทา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล, ผู้บริหารโรงเรียน, ครู

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายอำเภอหนองวัวซอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ทั้ง 5 ด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 331 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายอำเภอหนองวัวซอ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเป็นผู้นำด้าน รองลงมาคือ ด้านการเป็นพลเมืองยุคดิจิทัล และด้านความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายอำเภอหนองวัวซอเรียงลำดับค่าความถี่จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยี ควรฝึกการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารด้วยสื่อออนไลน์ในช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการใช้เทคโนโลยีขั้นพื้นฐานกับครู ควรมุ่งเน้นให้ครูและบุคลากรได้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของเทคโนโลยี มีส่วนร่วมในการใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร และการปฏิบัติงานร่วมกันผ่านอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัยกับสถานการณ์ และควรปฏิบัติตนเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม มีการใช้เทคโนโลยีด้วยความรับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอตามลำดับ

References

กัลยวรรธน์ ตะเภาทอง. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่ม สหวิทยาเขตทวารวดีสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. สุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ชัญญาภัค ใยดี. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(1), 150-164.

ณัฎฐณิชา พรปทุมชัยกิจ. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. สารนิพนธ์ ศม.ษ. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. (2564). แผนปฎิบัติการประจำปี 2564. อุดรธานี: กลุ่มบริหารงานบุคคล สพม.สกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562) “นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นวันที่ 6 สิงหาคม 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.obec.go.th.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีรัตน์ รอดพ้น. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศษ.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. สืบค้นวันที่ 2 พฤษภาคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3-.

_______. (2562). “การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล”. สืบค้นวันที่ 2 พฤษภาคม 2562. เข้าถึงได้จาก http://www.trueplookpanya.com.

International Society for Technology in Education (ISTE). (2009). National Educational Technology Standard for Administrators. Retrieves form https://id.iste.org/docs/pdfs/20-4_ISTE_Standards-A_PDF.pdf. (15 May 2019).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-26