ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนอำเภอหนองหาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • พรสุดา สิทธิพรหม -

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ความคิดเห็น, ผู้บริหาร, ครู

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ และเปรียบเทียบภาวะผู้นำ       ที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนอำเภอหนองหาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และระดับการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนอำเภอหนองหาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 244 คน จาก 68 โรงเรียน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)ผู้วิจัยพบผลดังนี้ 1. ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนอำเภอหนองหาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านมุ่งความสำเร็จ และด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพ  2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนอำเภอหนองหาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มี เพศและประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กาญจนา ศิลา. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต บางเขน. สารนิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

ขำจิตร วุฒิศักดิ์. (2552). พฤติกรรมผู้นำที่พึงประสงค์ของผุ้อำนวยการโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดุษฎี เย็นใจ. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ กลุ่ม 6 ภาคเหนือตอนบน. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

นรมน ซาเซียง. (2561). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 อำเภอบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุษบา คำนนท์. (2559). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารในทัศนะของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. งานนิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชราณีย์ ฟักทองพรรณ. (2553). แนวโน้มคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนสตรีเอกชน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์วลัญช์ นันทัยทวีกุล. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและพฤติกรรมการสอนของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เฟาซี วงค์ภักดี. (2554). ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนครศรีธรรมราช. ค้นคว้าอิสระครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

มนูญ พรมรักษา. (2554). พฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษาขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1. การศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วีระวรรณ พรมทองดี. ( 2556 ). พฤติกรรมผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2557). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ด้านคุณธรรม จริยธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). แหล่งที่มา http://www.moe.go.th.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (2565). แผนปฏิบัติติการประจำปี 2565. อุดรธานี: ผู้แต่ง.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะผู้นำ: ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เอเชียเพลส (1989) จำกัด.

สำเนา หมื่นแจ่ม. (2555). องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ฮาฟิซ ขำนุรักษ์. (2558). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Dubrin, A. J. (1998). Leadership: Research findings, Practice, and Skill. Boston: Houghton Mifflin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-26

How to Cite

สิทธิพรหม พ. (2023). ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนอำเภอหนองหาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(1), 9–22. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/1052