การบริหารงานด้านงบประมาณโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1
การบริหารงานด้านงบประมาณโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : การบริหารงานด้านงบประมาณ โรงเรียนขนาดเล็กบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการบริหาร
งานด้านงบประมาณโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 189 คน ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยเลือกครูที่ปฏิบัติงานด้านบริหารงบประมาณตามคำสั่งแต่งตั้งของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าIOC เท่ากับ 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารงานด้านงบประมาณ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย (= 4.42,
S.D.= 0.54) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการบริหารการเงิน รองลงมาคือ ด้านการบริหารบัญชี และด้านบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
- ปัญหาการบริหารงานด้านงบประมาณ ได้แก่ โรงเรียนมีการกำหนดนโยบาย แผนงาน/โครงการ ไว้ครบทุกด้านแต่ในการปฏิบัติไม่สามารถปฏิบัติงานได้ครอบคลุมทุกด้านตามที่กำหนด
ไม่มีเวลาในการปฏิบัติงานด้านการเงินเต็มที่เนื่องจากเป็นครูผู้สอน ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบภายในโรงเรียนขาดอิสระ แผนการระดมทรัพยากรทางการศึกษาไม่ชัดเจน การบริหารพัสดุและสินทรัพย์โรงเรียนยังไม่เป็นปัจจุบัน การเบิกจ่ายเงินไม่เป็นไปตามแผน และการจัดเก็บเอกสาร
ประกอบบันทึกบัญชีไม่เรียบร้อยไม่เป็นระบบ
- แนวทางพัฒนาการบริหารงานด้านงบประมาณ คือผู้บริหารควรสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรปฏิบัติตามแผนอย่างจริงจัง ควรมีปฏิทินในการดำเนินงานให้ชัดเจน บุคลากรผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบการตรวจสอบภายในโรงเรียนควรตรวจสอบให้ครบทุกด้าน ใช้หลักการมีส่วนร่วมพัฒนาองค์ความรู้ในด้านนี้ให้กับบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินให้มีความรู้ ความเข้าใจ และควรจัดอบรมให้ผู้บริหารและบุคลากรที่ทำหน้าที่
คำสำคัญ : การบริหารงานด้านงบประมาณ โรงเรียนขนาดเล็ก
References
เอกสารอ้างอิง
ขนิษฐา ยศเมฆ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงบประมาณทางการศึกษากับคุณภาพ
ผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์. ค.ม.
สุราษฎร์ธานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.
ซูบรี ม่วงกุ้ง. (2558). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). สงขลา : บันฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ณัฐพงศ์ รัตนรังษี. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้น
ผลงานโรงเรียนวัดศรีเมืองสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร.
สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฐพร นาคสุวรรณและภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2564). การบริหารงานงบประมารของสถานศึกษา
ขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธัญญาลักษณ์ สิงห์แก้ว. (2559) การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานเขต
ลาดพร้าวกรุงเทพมหานคร. ค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นันท์วดี แดงอรุณ. (2562). โรงเรียน' จุดแก้โกง หรือ จุดเริ่มโกง.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม
แหล่งที่มา:https://news.thaipbs.or.th/content/270872.
รักษณาลี สุริหาร. (2563). สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22. สารนิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา).
สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
วีระพงษ์ ก้านกิ่ง. (2560). สภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
อาซียะห์ วานิ (2557). ปัญหาบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. สารนิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา) : มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน