ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในเครือข่ายอำเภอบ้านดุง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในเครือข่ายอำเภอบ้านดุง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • สุวภัทร เสียมภูเขียว -

คำสำคัญ:

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง , ผู้บริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัญหา และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในเครือข่ายอำเภอบ้านดุงตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3  ประชากรที่ศึกษา จำนวน 7 โรงเรียน จำนวน 95 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าIOC ระหว่าง 0.67-1.00

ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( µ = 4.10,

 α = 0.56)  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา รองลงมาคือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการคำนึงความเป็นปัจเจกบุคคล

  1. ปัญหาที่มีค่าความถี่สูงสุดในแต่ละด้านคือ ผู้บริหารยุคเก่าขาดแนวความคิดสร้างสรรค์ ขาดความมุ่งมั่นในการทำงาน ขาดการประชุมชี้แจงให้ผู้ร่วมงานทราบถึงปัญหาที่สถานศึกษาประสบเผชิญอยู่ และการมอบหมายงานไม่ตรงกับความรู้ ความสามารถของผู้ปฎิบัติงาน
  2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในแต่ละด้าน คือ 1) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ควรมีความมุ่งมั่นในการทำงานทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ลดอุดมการณ์ของตนเอง และยอมรับความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้นเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความเชื่อถือและยอมรับในตนเอง 2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ควรสร้างเจตคติที่ดีต่อผู้ร่วมงาน โดยเป็นแบบอย่างที่ดีในการครองตน ครองคน และครองงาน ให้ความเสมอภาคแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและสร้างแรงจูงใจในการทำงานเป็นทีม 3) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ควรกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานโดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน และยกย่องชมเชยผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่อทำผลงานให้กับสถานศึกษา พร้อมกับส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยจัดอบรมความรู้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นข้าราชการครูทำผลงานเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น 4) ด้านการคำนึงความเป็นปัจเจกบุคคล ผู้บริหารควร

นิเทศ ติดตาม สอบถามให้ความใส่ใจ ดูแล ให้คำปรึกษาผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติงานพร้อม

กับวางตัวเป็นกลางทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความเชื่อถือมากขึ้น

คำสำคัญ : ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารโรงเรียน

References

เอกสารอ้างอิง

จิราพร สามัญ. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา

มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) ชลบุรี:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. วารสาร คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(1), 304-306.

ญาณี ขำสุวรรณ. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในอำเภอ

เมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรีสังกัดสำนักงานการศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรีเขต 17.

งานนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา

ธัญวิทย์ ศรีจันทร์ และคณะ (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะภาวะผู้นำใน

ศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษา. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย.

ธีระศักดิ์ สารสมัคร (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในยุคการศึกษา 4.0 สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง”.

นารินทร์ เดชสะท้าน. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม.

(การบริหารการศึกษา). กาฬสินธุ์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์.

พนัชกร พองาม (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา : กรณีศึกษา

โรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกุล” วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุ้งนภา จันทร์ลี. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็น

องค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). จันทบุรี : บันฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

วิไล พินิจพงศ์. (2558). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://artdesignqa.

blogspot.com/2012/03/blog-post.html. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564.

วีรศักดิ์ ประจง (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียน

มิตรภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). ยะลา : บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. 2564 ก.,ข้อมูลสารสนเทศทาง

การศึกษาปีการศึกษา 2564. (อุดรธานี : กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานฯ ). อัดสาเนา.

สุภาพร ภูสมที. (2559). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม

: ตักศิลาการพิมพ์.

สมุณฑา ทายุโก (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่ง

การเรียนรู้ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). ปัตตานี : บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ราชภัฎยะลา.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Transformational Leadership Development.

Pola Alto, California: Consulting Psychologists.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-17