แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • อุไรลักษณ์ ปุ่มเป้า Sakon Nakhon Rajabhat University

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, สมรรถนะในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม จำนวน 184 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม แตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และหน่วยงานที่สังกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงาน ไม่พบความแตกต่างกัน 3) ตัวแปรย่อยของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ได้แก่ การควบคุมดูแลงาน (β=.302) ความก้าวหน้า (β=.244) ความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน (β=.240) ความรับผิดชอบ (β=.178 สภาวะการทำงาน (β=.157) และนโยบายและการบริหาร (β=.150) และสามารถร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ได้ร้อยละ 87.60 (R2Adj. = .876) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2554). รายงานการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ เพื่อรับรางวัล

พระปกเกล้าประจำปี 2554. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

โกวิทย์ พวงงาม. (2555). ธรรมาภิบาลว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก็อปปี้.

ปิยวรรณ เกษดี และบำเพ็ญ ไมตรีโสภณ. (2563). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากร

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์

รป.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด.

ศุภจิรา จันทร์อารักษ์. (2551). ความคิดเห็นของราชราชการที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานใน เทศบาล

เมืองชลบุรีจังหวัด ชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป,

ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลยบูรพา.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2558). กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์

คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด.

สุทธิคุณ วิริยะกุล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการ

สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

(นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). (2552). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน.

นนทบุรี: บริษัทประชุมช่าง จำกัด.

อุกฤษฎ์ เกตุกัณหา. (2549). แรงจูงใจในการท้างานของพนักงานธนาคารระดับปฏิบัติการของ

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าแบบ

อิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่.

Herzberg, Frederick and Others. (1959). The Motivation of Work. New York: John Wiley and Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-28 — Updated on 2023-02-05

Versions